แนวทางของ ESC แนะนำให้ประเมินความเสี่ยงในการมีเลือดออกจากการได้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant) ในผู้ป่วย atrial fibrillation ถ้าพบว่ามีคะแนนตั้งแต่ 3 ขึ้นไป ถือว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดเลือดออก โดยเฉพาะการมีเลือดออกในสมองซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ซึ่งต้องให้ความระมัดระวังและติดตามใกล้ชิดในการใช้ยา
โดยประเมินจาก
-H: Hypertension (SBP มากกว่า 160 mmHg) = 1 คะแนน
-A: Abnormal renal function (ได้รับการฟอกไตแบบถาวรหรือการปลูกถ่ายไตหรือ Cr 200 μmol/L ( มากกว่า ~2.3 mg/dL) = 1 คะแนน
Abnormal liver function (มีโรคตับเรื้อรัง เช่น ตับแข็ง หรือผลตรวจทางชีวเคมีพบหลักฐานของการมีความผิดปกติอย่างมีนัยยะสำคัญ เช่น bilirubin มากกว่า 2 เท่าของค่าปกติที่สูงสุด, การมี AST/ALT/ALP มากกว่า 3 เท่าของค่าปกติที่สูงสุด) = 1 คะแนน
-S: Stroke (มีประวัติเคยมีโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน) = 1 คะแนน
-B: Bleeding (มีประวัติเลือดออกรุนแรง หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการมีเลือดออก หรือมีภาวะซีด) = 1 คะแนน
-L: Labile INRs (หมายถึง INRs ไม่คงที่/สูง หรือไม่ได้ระดับในระยะเวลานาน (เช่น น้อยกว่า 60% ของระยะเวลาที่ควรจะได้ระดับ) = 1 คะแนน
-E: Elderly (อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 65 ปี) = 1 คะแนน
-D: Drug Therapy (มีการใช้ยา เช่น antiplatelet agents, NSAID's) = 1 คะแนน
Alcohol intake (ดื่มสุราตั้งแต่ 8 ดริ้งขึ้นไป/สัปดาห์) = 1 คะแนน
โดยการใช้ HAS-BLED bleeding risk score ร่วมกับ CHA2DS2-VASc Score ในการประเมินการใช้และความเสี่ยงในการมีเลือดออก
และจากการประชุมราชวิทยาลัยอายุรแพทย์มาก็มีการให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น