American Academy of Family Physicians
March 15, 2011
การสั่น เป็นลักษณะที่เกิดขึ้นเป็นจังหวะโดยไม่ได้ตั้งใจ การเคลื่อนไหวแบบแกว่งไปมา (oscillatory movement) ในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เป็นความผิดปกติของการเคลื่อนไหวที่พบมากที่สุดในการทางคลินิก อาการสั่นขณะอยู่เฉย (rest tremors) เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งของร่างกายที่ไม่มีการตึงตัวและช่วยพยุงมิให้ได้รับผลจากแรงโน้มถ่วง การสั่นในขณะทำงาน (action tremors) เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อชนิดที่สามารถควบคุมได้ และสามารถแบ่งต่อได้เป็น postural tremors, isometric tremor และ kinetic tremors โดยในคนที่มีการสั่นที่มีลักษณะสรีรวิทยาแบบแอมพลิจูดต่ำ, ความถี่สูงขณะพักและในขณะทำงาน ไม่ถูกรายงานว่าเป็นลักษณะของการมีอาการ
ลักษณะพยาธิกำเนิดของการสั่นที่พบมากที่สุดคือการสั่นแบบไม่มีสาเหตุ (essential tremor) ในครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะมีการถ่ายทอด autosomal dominant และเกิดขึ้นร้อยละ 0.4 - 6 ของประชากร ซึ่งมากกว่าร้อยละ 70 ของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะมีอาการสั่นเป็นลักษณะอาการนำ การสั่นนี้มักจะมีลักษณะไม่สมมาตร เกิดขึ้นขณะอยู่เฉย และลักษณะเด่นทางด้านการเคลื่อนไหวที่สั่งการได้จะน้อย เป็นลักษะที่ประกอบด้วยการสั่นจากสภาวะจิตใจ (psychogenic tremor) มีอาการเกิดขึ้นทันทีทันใด และสามารถดีขึ้นได้เอง มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะของการสั่น
แบบตอบสนองลดลงได้ถ้าไม่ได้รับสิ่งกระตุ้นและสามารถเบี่ยงเบนได้ ลักษณะการสั่นประเภทอื่น ๆ ได้แก่ cerebellar, dystonic, drug- or metabolic-induced และ orthostatic tremor
ขั้นตอนแรกในการประเมินผู้ป่วยที่มีอาการสั่นคือการจัดแบ่งการสั่นตามสภาวะที่มากระตุ้น ลักษณะทางกายภาพ-ธรรมชาติและความถี่ของการเกิด การวินิจฉัยการสั่นขึ้นอยู่กับข้อมูลทางคลินิกที่ได้รับทั้งจากประวัติและการตรวจร่างกาย สำหรับกรณีที่มีความยากในการวินิจฉัย การใช้ CT scan ชนิด single-photon emission เพื่อดูลักษณะของ dopaminergic pathways ในสมอง ซึ่งอาจจะมีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรคพาร์กินสันได้
เนื้อหาโดยละเอียดและอ่านต่อ http://www.aafp.org/afp/2011/0315/p697.html
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น