วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

1,756 การศึกษาระยะเวลาการนอนราบภายหลังการเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง

No effect of recumbency duration on the occurrence of post-lumbar puncture headache with a 22G cutting needle
BMC Neurol. 2012; 12: 1.
Published online 2012 January 30
การนอนหงายราบกระทำกันอย่างแพร่หลายเพื่อป้องกันอาการปวดศรีษะจากการเจาะหลัง (prevent post-lumbar puncture headache, PLPH)
อย่างไรก็ตามระยะเวลาที่เหมาะสมของการนอนราบหงายยังไม่มีข้อยุติ จุดประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบการเกิดขึ้นของ PLPH โดยเป็นการศึกษาระยะเวลาของการนอนหงายราบในผู้ป่วย โดยมีผู้ป่วยในการศึกษา 70 คน โดย 35 คนนอนราบหงายเป็นเวลา 4 ชั่วโมง (กลุ่มที่ 1) หลังจากที่เจาะหลังและ 35 ผู้ป่วยที่นอนราบหงายเป็นเวลา 1 ชั่วโมง (กลุ่มที่ 2)
ผลการศึกษาพบว่า ความถี่โดยรวมของ PLPH คือ 31.4% ความถี่ของการ PLPH ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ 1 (28.6%) และกลุ่มที่ 2 (34.3%) (p = 0.607) โดยในผู้ป่วยที่มี PLPH : ค่ามัธยฐานของความรุนแรง (P = 0.203) และมัธยฐานของเวลาที่เริ่มมีอาการ (P = 0.582) ซึ่งไม่แตกต่างระหว่างทั้งสองกลุ่ม
ในการวิเคราะห์แบบ logistic regression พบว่าการมีประวัติเคยมีอาการปวดศรีษะภายหลังเจาะหลังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับการเกิด PLPH (OR = 11.250, 95% CI: 1.10-114.369, P = 0.041)
ซึ่งจากการศึกษานี้สรุปได้ว่าการนอนหงายราบในช่วงเวลาสั้นๆ คือ 1 ชม. มีผลเทียบเท่ากับการนอนราบที่นานกว่าคือ 4 ชม.ในการป้องกัน PLPH

Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3292507/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น