การมีความวิตกกังวล (anxiety) ที่เกิดร่วมในโรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder, BD) และโรคซึมเศร้า (unipolar major depressive disorder, MDD) มีความสัมพันธ์กับอาการที่แย่ลง ไม่ตอบสนองต่อการรักษาและอัตราการการฆ่าตัวสูงขึ้น
นักวิจัยได้ศึกษาพบว่าการมีความวิตกกังวลร่วมด้วยหรือการมีอาการวิตกกังวลจะทำใ้ห้เพิ่มภาวะขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง (impulsivity) ในผู้ป่วย 205 คนที่เป็น BD (อายุเฉลี่ย, 37 ปี เป็นเพศชาย 29 % ) และในผู้ป่วย 105 คนที่เป็น MDD (อายุเฉลี่ย 38 ปี เป็นเพศชาย30 % )โดยผู้เข้าร่วมจะได้รับการสัมภาษณ์อย่างครอบคลุมเพื่อการวินิจฉัยทางจิตเวชและใช้แบบสอบถามคัดกรองประเมินอาการของความวิตกกังวลและภาวะขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง
โดยในกลุ่มของความวิตกกังวล โรคย่อยที่พบมากที่สุดคือโรคตื่นตระหนก (panic) และภาวะเครียดภายหลังได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ (post-traumatic stress disorder) ซึ่งพบได้ 59% ของผู้ป่วย BD และ 29% ของผู้ป่วย MDD
โดยในทั้งสองกลุ่มพบว่าผู้ที่มีปัญหาความวิตกกังวลมีนัยสำคัญมากกว่าภาวะขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง และภาวะขาดความสามารถในการควบคุมตนเองพบมากใน BD มากกว่า MDD ผู้ที่อายุน้อยจะมีระดับคะแนนของภาวะขาดความสามารถในการควบคุมตนเองมากว่าผู้ที่อายุมาก แต่ภาวะนี้ไม่มีความแตกต่างในทั้งสองเพศ
และพบว่าอาการวิตกกังวลกับเหตุการณ์ปัจจุบัน (สภาวะวิตกกังวล หรือ state anxiety) ยังสัมพันธ์กับอาการขาดความสามารถในการควบคุมตนเองที่เพิ่มขึ้นทั้งใน BD และ MDD และสภาวะวิตกกังวลนี้จะเพิ่มระดับภาวะขาดความสามารถในการควบคุมตนเองใน MDD มากกว่า BD
แปลยังไงก็ยังงง สรุปคือ การศึกษานี้ช่วยยืนยันความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างความวิตกกังวลและภาวะขาดความสามารถในการควบคุมตนเองในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ ในการวิเคราะห์ทั้งผู้ที่มีภาวะความวิตกกังวลและกำลังมีอาการของความวิตกกังวล
ซึ่งแพทย์ควรจะระมัดระวังเกี่ยวกับการมีโรควิตกกังวลและอาการวิตกกังวลร่วมด้วย ในผู้ป่วย MDD หรือ BD และความน่าจะเป็นที่จะเกิดภาวะขาดความสามารถในการควบคุมตนเองและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมที่อันตราย
อ้่างอิงและอ่านต่อ http://psychiatry.jwatch.org/cgi/content/full/2012/409/3
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น