American Academy of Family Physicians
March 1, 2011
Dyspepsia เกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ได้ถึงร้อยละ 40 ในแต่ละปีและมักจะให้การวินิจฉัยว่าเป็น functional dyspepsia (nonulcer dyspepsia) ซึ่งการวินิจฉัยผู้ป่วยจะมีอาการจุกแน่นหลังรับประทานอาหาร อิ่มง่าย หรือเจ็บใต้ลิ้นปี่ หรือแสบร้อนโดยไม่มีสาเหตุที่เกิดจากโรคของโครงสร้าง (causative structural disease) อาการเหล่านี้อาจพบร่วมกันกับอาการของความผิดปกติการทำงานของระบบทางเดินอาหารได้ เช่น กรดไหลย้อน และกลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน เช่นเดียวกับความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า
ประวัติและการตวจร่างกายสามารถช่วยในการระบุสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ สัญญาณเตือนว่าอาจเป็นโรคร้ายแรง เช่นมะเร็ง ได้แก่ การมีน้ำหนักลดลงโดยไม่ได้ตั้งใจทำ อาการกลืนลำบากที่เป็นมากขึ้น อาเจียนต่อเนื่อง มีหลักฐานของการมีเลือดออกในทางเดินอาหารและประวัติโรคโรคมะเร็งในครอบครัว
ซึ่งในกรณีนี้ การตรวจอย่างครอบคลุมทางห้องปฏิบัติการ การถ่ายภาพและการส่องกล้อง ควรได้รับการพิจารณาเมื่อมีข้อบ่งชี้ทางคลินิก
ในระหว่างการประเมินในเบื้องต้น กลวิธีในการตรวจสอบและรักษาเพื่อการวินิจแฉัยและการกำจัดภาวะติดเชื้อ Helicobacter pylori ได้ผลดีกว่าการรักษาแบบ empiric และมีประสิทธิภาพคุ้มค่ากว่าการส่องกล้องตั้งแต่แรก
การกำจัดเชื้อ H. pylori ช่วย 1 จาก 15 ที่เป็น functional dyspepsia ที่วินิจฉัยได้โดยการส่องกล้อง แต่อาจจะไม่คุ้มค่า-ประสิทธิภาพ การรักษาที่อาจเป็นประโยชน์สำหรับ functional dyspepsia ได้แก่ยา histamine H2 blockers, proton pump inhibitors และ prokinetic แม้ว่ายาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและการให้การดูแลทางจิตวิทยามีการพิสูจน์แล้วไม่มีประโยชน์ในผู้ป่วย functional dyspepsia แต่มีความเหมาะสมสำหรับการรักษาโรคทางจิตเวชที่พบร่วมด้วยได้บ่อย
เนื้อหาประกอบด้วย
Rome III Diagnostic Criteria for Functional Dyspepsia
Pathophysiology
Diagnostic Approach
Differential Diagnosis of Dyspepsia
Agents Commonly Associated with Dyspepsia
Evaluation and Management of Dyspepsia (Algorithm)
Treatment
Gastric acid suppression
Prokinetics
H. pylori eradiacation
Psychotropic and psychological interventions
Data Sources
อ้างอิงและอ่านต่อ http://www.aafp.org/afp/2011/0301/p547.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น