Clinical practice
N Engl J Med April 5, 2012
Key Clinical Points
การควบคุมน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
-การให้การควบคุมระดับน้ำตาลอย่างเข้มงวดจะลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดขนาดเล็ก (microvascular complications) ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 แต่ผลของการควบคุมน้ำตาลที่เข้มงวดต่อความเสี่ยงต่อการเกิดโรคของหลอดเลือดขนาดใหญ่ (macrovascular disease) โดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมได้ดีอยู่แล้ว) ยังไม่เป็นที่แน่นอนนัก-ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาและสังคม (เช่น แรงจูงใจและความสามารถในการดูแลตนเอง) และปัจจัยทางด้านคลินิก (เช่น อายุ การมีหรือไม่มีโรคร่วม และการมีหรือไม่มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ) ควรได้รับการพิจรณาในการกำหนดช่วงเป้าหมายของ HbA1c สำหรับผู้ป่วยแต่ละคน
-การควบคุมเพื่อให้ใกล้เคียงภาวะปกติ ( HbA1c 6.0 - 6.5%) หากดำเนินการมีความปลอดภัย ควรพิจารณาสำหรับผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมีสุขภาพดี และคาดว่าจะมีอายุขัยยาวนาน เป้าหมายที่ลดหย่อนลงของ HbA1c อาจจะเหมาะในผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มานานและมีโรคหลอดเลือดหัวใจ-การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและการใช้ยา metformin ได้รับการแนะนำในการเริ่มให้การรักษาในผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 -ยาที่ใช้ในการรักษาหลายชนิดสามารถใช้ร่วมกับ metformin ซึ่งมีความจำเป็นในการควบคุมระดับน้ำตาล แต่ขาดหลักฐานที่จะสนับสนุนว่ายาตัวใดตัวหนึ่งจะดีกว่ายาตัวอื่นๆ การตัดสินใจควรพิจารณาค่าใช้จ่าย ผลข้างเคียงและความปลอดภัยในระยะยาว รวมถึงผลกระทบต่อภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
The Clinical Problem
Strategies and Evidence
Goals of Glycemic Control and Target Range for Glycated Hemoglobin
General Treatment Considerations
Lifestyle Approaches
Pharmacotherapy
Strategies for Implementation
Surgical Approaches to Glycemic Control
Areas of Uncertainty
Guidelines
Conclusions and Recommendations
Source Information
Key Clinical Points
อ่านต่อ http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1013127
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น