จาก Journal watch, medicine that matters
มีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นของการติดเชื้อ Clostridium difficile ที่ดื้อต่อการรักษาและกำเริบได้หลายๆ ครั้ง และได้กลายเป็นปัญหาทางคลินิกมากขึ้น การรักษาต่างๆ ส่วนใหญ่ได้รับการพิสูจน์ว่าไม่ได้ผล ยกเว้นของการปลูกถ่ายอุจจาระ (fecal transplantation) สำหรับขั้นตอนนี้คืออุจจาระสดที่ได้รับบริจาคจะได้รับปั่นและใส่เข้าไปในลำไส้ใหญ่ส่วนต้นของผู้รับ โดยผ่านพอร์ตการตรวจชิ้นเนื้อ (biopsy port) จากกล้องส่องลำใส้ใหญ่ ผู้บริจาคจะได้รับการคัดกรองการติดเชื้อที่พบได้บ่อยๆ ก่อน และผู้รับจะได้รับยาที่รักษา C. difficile เป็นเวลา 24 ถึง 48 ชั่วโมงก่อนการทำ หลังจากการปลูกถ่ายผู้ป่วยยังคงต้องนอนหงายอีกสักระยะและบางครั้งอาจมีการให้ยาที่ลดการเคลื่อนไหวของลำใส้
มีการศึกษาจำนวนมากเกี่ยวกับการปลูกถ่ายอุจจาระได้แสดงให้เห็นว่าอัตราการรักษาหายสูง การศึกษาผู้ป่วยแบบย้อนกลับ (retrospective case series) ที่ใหม่ล่าสุดและที่ใหญ่ที่สุด โดยมีผู้ป่วย 70 คนทำในประเทศฟินแลนด์ (อายุเฉลี่ย 73 ปี โดยเป็นผู้ป่วยนอก 86 %)
ซึ่งโดยรวมแล้ว 94% ของผู้ป่วยอาการดีขึ้นในช่วง 12 สัปดาห์แรกหลังจากการปลูกถ่าย โดย 32 คนจาก 36 คนติดเชื้อ C. difficile สายพันธุ์ O27 และ 34 คนติดเชื้อสายพันธุ์อื่น ๆ โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนในช่วงแรก (immediate complications) เกิดขึ้น
Ref: http://gastroenterology.jwatch.org/cgi/content/full/2012/330/4
ขอนำบทความไปเผยแพร่ต่อใน Rational Drug Use facebook ครับ http://www.facebook.com/photo.php?fbid=263048177126508&l=f40f425f81
ตอบลบได้ครับ
ตอบลบ