หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

1,717 ข้อควรทราบเรื่องให้โปแตสเซียมชดเชยในขณะให้การรักษาผู้ป่วย diabetic ketoacidosis (DKA)

การให้อินซูลิน การแก้ภาวะเลือดเป็นกรดและการให้สารน้ำจะทำให้เกิดภาวะโปแตสเซียมในเลือดต่ำ เนื่องจากการที่โปแตสเซียมเคลื่อนเข้าสู่เซลล์ และมีการขับโปแตสเซียมออกทางปัสสาวะมากขึ้นจนอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้ออ่อนแรงตามมาได้เพื่อเป็นการป้องกันภาวะดังกล่าว ควรมีการให้โปแตสเซียมชดเชยหลังจากระดับระดับโปแตสเซียมในเลือดต่ำกว่า 5 mEq/l (บางอ้างอิงใช้ที่ 5.5 mEq/l) โดยต้องมีปัสสาวะออกอย่างเพียงพอก่อน
โดยพบน้อยมากที่ผู้ป่วย DKA จะมีระดับโปแตสเซียมในเลือดต่ำมากๆ ซึ่งถ้าพบในกรณีเช่นนี้ ควรให้โปแตสเซียมชดเชยพร้อมกับการให้สารน้ำและการให้อินซูลินควรเลื่อนออกไปก่อน จนกระทั่งระดับโปแตสเซียมมากกว่า 3.3 mEq/l เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือภาวะหัวใจหยุดทำงานและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการหายใจอ่อนแรง และถ้าระดับโปแตสเซียมน้อยกว่า 3.3 mEq/l ต้องรีบให้โปแตสเซียมชดเชยทันที
เป้าหมายเพื่อรักษาให้ระดับโปแตสเซียมอยู่ที่ 4–5 mEq/l. โดยการให้โปแตสเซียม 20–30 mEq ในสารน้ำทุก 1 ลิตร (บางอ้างอิงใช้ 20-40 mEq หรือบางอ้างอิงมีการให้ตามระดับของโปแตสเซียม) ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดเรื่องขนาดที่ให้ได้จากในอ้างอิงด้านล่างครับ

Ref: http://care.diabetesjournals.org/content/27/suppl_1/s94.full
http://www.aafp.org/afp/2005/0501/p1705.html 
http://www.chatlert.worldmedic.com/docfile/dk.doc
http://www.medicthai.com/admin/news_detail.php?id=3596 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น