หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2555

1,691 การวินิจฉัยสาเหตุของผมร่วง

-เริ่มจากการประเมินว่าผมร่วงมีลักษณะเป็นหย่อมหรือเป็นทั่วศรีษะ ถ้าเป็นหย่อมมองหาว่ามีรอยแผลเป็นหรือไม่ ถ้ามีอาจปรึกษาแพทย์โรคผิวหนังร่วมด้วย ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยๆ เช่น SLE ในกลุ่มที่ไม่มีรอยแผลเป็นจะพบว่า alopecia areata หรือ tinea capitis จะพบได้บ่อยที่สุด ใน alopecia areata รอยโรคจะกลมและเรียบ ขณะที่ tinea capitis หนังศรีษะจะมีขุยบางๆ และแดง และอาจตรวจพบมีต่อมน้ำเหลืองที่ท้ายทอย พิจารณาขูดขอยโรคเพื่อหาเชื้อรา traction alopecia และ trichotillomania มีแนวโน้มที่จะทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ และมักได้ข้อมูลจากประวัติ พิจารณาตัดชิ้นเนื้อตรวจถ้าการวินิจฉัยของผมร่วงเป็นหย่อมไม่แน่ชัด
-ในกรณีผมร่วงทั่วศรีษะ ดูว่าเป็นลักษณะผมบางหรือร่วงหมดเป็นลักษณะเด่น และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่ส่งเสริมอะไรบ้าง มีซีดร่วมด้วยหรือไม่ มีอาการแสดงของภาวะแอนโดรเจนเกินหรือไม่ หรือโรคของไทรอยด์ โดยผู้ป่วยที่ค่อยๆ มีลักษณะของผมบางส่วนใหญ่มักจะเป็นผมร่วงแบบของเพศชายและเพศหญิง ซึ่งสามารถทราบได้จากรูปแบบลักษณะ การทดสอบโดยการดึงเส้นผม (hair pull test) จะให้ผลบวกขณะบริเวณที่ผมบาง และเป็นลบในบริเวณที่ผมไม่บาง ผู้ป่วยที่มีผมร่วงอาจจะเป็นแบบ telogen effluvium หรือ diffuse alopecia areata ซึ่งทั้งสองจะให้ผลบวกต่อ hair pull test ประวัติอาจบอกถึงเหตุการณ์ที่กระตุ้นของการเกิดผมร่วงแบบ telogen effluvium ขณะที่ผู้ป่วยที่เป็น alopecia areata กระเปาะรากผมจะบางลงมากและเหี่ยวแฟบเนื่องจากเลือดมาเลี้ยงไม่พอเพียง (exclamation point hairs) ในผู้ป่วยทุกคนที่มีผมร่วงชนิดทั่วๆ ควรตรวจระดับ ferritin และการทำงานของต่อมไทรอยด์ โรคซิฟิลิสเป็นสาเหตุที่พบได้น้อยมากของผมร่วงชนิด telogen effluvium แต่ควรให้การตรวจเพื่อการวินิจตัดออกในผู้ที่มีความเสี่ยงหรือกำลังเป็นอยู่ ผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีผมร่วงแบบ telogen effluvium ควรจะได้รับการติดตามจนกระทั่งการหายเกิดขึ้น ปกติภายในเวลา 6 เดือน ร่วมกับการแก้ไขปัจจัยที่กระตุ้น ถ้าไม่ดีขึ้นควรตัดชิ้นเนื้อของหนังศรีษะเพื่อส่งตรวจในการวินิจฉัยแยกโรคระหว่างผมร่วงแบบ alopecia areata, telogen effluvium และ male หรือ female pattern

อ้างอิงและอ่านต่อ: http://www.aafp.org/afp/2009/0815/p356.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น