พบมี hyperdense mass ใน sella turcica ซึ่งเป็นที่อยู่ของต่อมใส้สมอง (pituitary gland) ซึ่งอาจเป็นก้อนเนื้องอกต่อมใต้สมอง (pituitary tumor) เป็นเนื้องอกของต่อมใต้สมองส่วนหน้าอาจแบ่งตามขนาดกล่าวคือถ้าขนาดเล็กกว่า1 เซนติเมตรเรียกว่า microadenoma ถ้าขนาดใหญ่กว่า 1 เซนติเมตรเรียกว่า macroadenoma นอกจากนี้อาจแบ่งตามการผลิตฮอร์โมนคือ เนื้องอกที่ผลิตฮอร์โมนเรียก functional หรือsecreting pituitary tumor ส่วนเนื้องอกที่ไม่ผลิตฮอร์โมนเรียก nonsecretory pituitary tumor
ลักษณะทางคลินิก ส่วนมากมาด้วยอาการของฮอร์โมนที่ผิดปกติ อาการทางสายตาเนื่องจากประสาทตาถูกกด ซึ่งมักพบลานสายตาผิดปกติแบบเสียด้านข้างทั้งสองตา bitemporal hemianopia และการมองเห็นแย่ลงอาจถึงตาบอดได้ และอาจมีหนังตาตกได้ด้วยเนื่องจากการกดการทำงานของเส้นประสาทที่ 3 oculomotor nerve ก้อนเนื้องอกขนาดใหญ่อาจมาด้วยอาการปวดศีรษะ อาการชักพบได้น้อย อาจมาด้วยอาการเลือดออกในเนื้องอกหรือที่เรียกว่า pituitary apoplexy ซึ่งมีอาการปวดศีรษะทันที และการมองเห็นแย่ลงทันทีอาจมีการกลอกตาผิดปกติและซึม สับสน ในรายที่ก้อนมีขนาดใหญ่อาจทำให้มีน้ำในสมองรั่วออกทางจมูกได้หรือ CSF rhinorrhea และอาจมาด้วยอาการของขาดฮอร์โมน (panpituitarism) จากการกดของเนื้องอกขนาดใหญ่ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น