Anticholinergic drugs เป็นยากลุ่มที่สามารถรักษา extrapyramidal syndrome (EPS) ได้ดีทุกชนิด ยกเว้นเพียง akathisia ที่ propranolol และ benzodiazepine ได้ผลดีกว่า ทั้งนี้ไม่มีความจำเป็นที่จะให้ anticholinergic กับผู้ที่ได้ยารักษาโรคจิตทุกรายเพื่อป้องกัน EPS ยกเว้นผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิด EPS เช่น ผู้ป่วยชายที่อายุน้อย เด็กหรือผู้ที่มีพยาธิสภาพทางสมอง เพราะยา anticholinergic ก็มีผลข้างเคียงเช่นกัน เช่น ปากแห้ง มีผลต่อการมองเห็น ท้องผูก ปัสสาวะไม่ออก เกิด delirim การให้ยาจึงต้องคำนึงถึงประโยชที่ได้รับเปรียบเทียบกับผลเสียที่อาจเกิดขึ้นด้วย และกรณีที่ได้ยาในขนาดที่มากกว่าขนาดแนะนำตามปกติหรือให้ยาชนิดที่มี potency สูง หรือผู้ที่มีประวัติเคยเป็นมาก่อน ซึ่งถือเป็นปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน ต้องคำนึงถึงว่าอาจต้องให้ยา anticholinergic drugs
และถ้าเริ่มให้ยาแล้วควรจะค่อยๆ ลดยาจนหยุดยาหลังการเริ่มยา antipsychotic แล้วประมาณ 2 สัปดาห์ การให้ในระยะยาวอาจจะไ่ม่ให้ประโยชน์ และกรณีที่เคยได้ยามาแล้วการค่อยๆ ลดยามักไม่ทำให้เกิด EPS ซ้ำ (ถ้าลดลงเร็วจะมีโอกาสเกิดอาการมากกว่า)
และเป็นสิ่งที่ต้องระวังอย่างยิ่งในผู้ที่มีการเสียความทรงจำที่เพิ่งเกิดขึ้น (recent memory) ผู้สูงอายุที่ได้ยาชนิด potency ต่ำมักไม่ได้ประโยชน์จากการให้ยา anticholinergic drugs
ผู้ป่วยที่มีการเสียความทรงจำระยะสั้น (short memory) จากการบาดเจ็บศรีษะ dementia หรือสาเหตุอื่นๆ มีความไม่เหมาะสมในการให้ยาเนื่องจากจะยิ่งทำให้สูญเสียความจำและทำให้สับสนมากยิ่งขึ้น
เดิมยังเป็นที่โต้แย้งกัน แต่ในช่วงปี 1989 องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ว่าไม่ต้องให้พร้อมการเริ่มยา antipsychotic แต่สิ่งที่สำคัญคือควรเฝ้าระวังในการค้นหาการเกิดภาวะ EPS เพื่อเริ่มให้การรักษาโดยเร็ว
Ref:
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15281899
http://www.skph.go.th/NEW_skph/admin/upload_km/2011070132806.pdf
http://pharmyaring.com/qareply.php?id=690
http://journals.lww.com/practicalpsychiatry/Abstract/2004/05000/Prophylaxis_of_Antipsychotic_Induced.11.aspx
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1003066/?page=1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น