หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

1,719 ข้อควรคำนึงถึงในการบำบัดด้วยออกซิเจนและภาวะพิษจากออกซิเจน

การให้ออกซิเจนมีคุณค่าและประโยชน์อย่างมากแต่ขณะเดียวกันก็อาจเกิดผลข้างเคียงที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ถ้าใช้อย่างถูกต้อง เหมาะสมจะช่วยลดอัตราการเกิดพิษจากการได้รับออกซิเจนได้
หลักการใช้ออกซิเจนคือ การใช้ออกซิเจนที่ระดับความเข้มข้นต่ำสุดที่เพียงพอในการในการแก้ไขภาวะพร่องออกซิเจน
ซึ่งภาวะแทรกซ้อนจากการให้ออกซิเจนได้แก่
1. ในขบวนการใช้ออกซิเจนจะเกิด free radicles 2 ตัวคือ superoxide และ hydroxyl ion ซึ่งทั้ง 2 ตัวจะเกิดการคั่งในภาวะที่ได้รับออกซิเจนมากเกินไป จะก่อให้เกิดการทำลายเซล capillary endotrelium เกิดการบวมของเนื้อปอดบริเวณช่องว่างระหว่างเซล (interstital edema) และเซลของถุงลมชนิดที่ 1 (alveolar cell type 1 หรือ pneumocyte type 1) จะถูกทำลาย แต่เซลชนิดที่สอง (alveolar cell type 2 หรือ pneumocyte type 2) จะถูกทำลายน้อยกว่า ส่วนเซล epithhelial จะถูกทำลายอันดับสุดท้าย ทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อปอด ผู้ป่วยจะมีอาการไอ หอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก ความจุปอดลดลง เกิด pulmonary edema ได้ ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขโดยการลดความเข้มข้นของออกซิเจนจะทำให้เกิด noncardiogenic pulmonary edema, dense consolidation และ fibrosis มีการเพิ่มของ shunt ในปอดและอาจเกิด ARDS และเสียชีวิตได้
โดยมีคำแนะนำว่าระยะเวลาที่ให้ FiO2 1 ไม่ควรเกิน 24 ชม. และ FiO2 0.7 ไม่ควรเกิน 48-72 ชม.
2. การให้ออกซิเจนในผู้ป่วย COPD ต้องให้ FiO2 ที่ไม่สูงมากนัก (ไม่ควรเกิน 0.28 ) ซึ่งการให้สามารถเริ่มจากการให้ nasal canula โดยจะให้ 2-3 ลิตร/นาที (บางแนวทาง 1-3 ลิตร/นาที บางแนวทางใช้ 2 ลิตร/นาที) เนื่องจากอาจจะทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซต์ลดลง จะกด hypoxic drive เพราะผู้ป่วย COPD ที่มีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์เรื้อรัง การหายใจจะถูกกระตุ้นด้วยภาวะ hypoxemia  ถ้าภาวะ hypoxia ลดลงจะทำให้ผู้ป่วยหายใจช้าลง เกิดการคั่งของ CO2 เกิดภาวะ respiratory acidosis และ CO2 narcosis หรืออาจจะทำให้เกิดการหยุดหายใจได้
3. โดย PaO2 ที่มากกว่า 80 mmHg ในเด็กแรกเกิดจะทำให้เกิดโรคจอตาในทารกคลอดก่อนกำหนด  (retinopathy of prematurity, ROP)
4. เกิด denitrogination absorbtive atelectasis เมื่อให้ FiO2 มากกว่า 0.5 จะทำให้ก๊าชไนโตรเจนในถุงลมลดลง เนื่องจากไนโตรเจนเป็นก๊าชเฉื่อยที่พยุงถุงลม จึงทำให้เกิดภาวะถุงลมแฟบ
5. ทำให้เกิดจมูก ปากแห้ง เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจและ ciliary function ของหลอดลม
6. ทำให้เกิดอุบัติเกี่ยวกับเพลิงใหม้ได้ง่ายขึ้น สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายถ้าใช้เกินความจำเป็น
ส่วนรายละเอียดอุปกรณ์ในการให้ออกซิเจนและปริมาณความเข้มข้นของออกซิเจนที่ได้สามารถดูจากกระทู้เิดิมที่เคยเขียนไว้แล้ว กระทู้นี้ครับ Click

Ref: Manual of medical therapeutics ภาควิชาอายุรศาสตร์ คระแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การดูแลรักษาโรคระบบทางเดินหายใจในผู้ใหญ่ อ. สุมาลี เกียรติบุญศรี
http://www.docstoc.com/docs/107492065/Oxygen-Therapy

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น