อาจพบผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานและโรคตับแข็ง จึงได้สืบค้นและสรุปการให้การรักษาจาก วารสาร World J Gastroenterol 2009 January 21; 15(3): 280-288 ไว้ครับ
-ยังมีการศึกษาไม่มากเกี่ยวกับการรักษาที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคตับแข็ง รวมถึงผลกระทบที่เกิดจากการรักษาเบาหวานต่อการดำเนินโรคของโรคตับ
-การรักษาเบาหวานในผู้ป่วยโรคตับแข็งจะแตกต่างจากผู้ไม่เป็นโรคตับแข็งคือ 1. ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยมีภาวะขาดสารอาหาร 2. เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานผู้ป่วยมักเป็นโรคตับระยะที่เป็นมากแล้ว 3. ยาชนิดรับประทานส่วนใหญ่เมตาโบไลท์ที่ตับ 4. ผู้ป่วยมักมีอาการน้ำตาลต่ำได้บ่อย
-การให้รักษาในช่วงแรกของผู้ป่วยที่มีน้ำตาลในเลือดสูงระดับน้อยถึงปานกลางในผู้ป่วยตับแข็งชนิด compensated โดยการปรับปรุงวิถีการดำเนินชีวิต (lifestyle change) ตั้งแต่ยังอยู่ระยะที่ดื้อต่ออินซูลิน(
insulin resistance) แต่การรักษาโดยการควบคุมอาหารอาจทำให้เกิดการขาดสารอาหารมากขึ้น การออกกำลังกายเพื่อลด insulin resistance ก็ไม่เหมะสมในผู้ป่วยที่กำลังเป็นโรคตับ
-แต่เมื่อผู้ป่วยมีอาการของการเกิดเบาหวานอย่างชัดเจนแล้ว ก็จำเป็นต้องมีการใช้ยา
ซึ่งยาชนิดรับประทานส่วนใหญ่เมตาโบไลท์ที่ตับ ดังนั้นควรมีการติดตามระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งยากลุ่ม biguanides จะลดการดื้อต่ออินซูลิน อาจจะใช้ได้ โดย metformin เป็นข้อห้ามแบบสัมพัทธ์ (relatively contraindication) ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับล้มเหลวระยะที่เป็นมากและในผู้ป่วยที่ยังดื่มสุราอยู่ เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิด lactic acidosis
-ยากลุ่มที่กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน (insulin secretagogues) ถึงแม้จะมีข้อมูลว่าเป็นยาที่ปลอดภัยในผู้ป่วยโรคตับ แต่อาจจะไม่เป็นประโยชน์ เนื่องจากไม่ได้เปลี่ยนแปลงภาวะดื้อต่ออินซูลิน และผู้ป่วยโรคตับแข็งมักจะมีความเสียหายของ islet β-cell ของตับอ่อนอยู่แล้ว
-Alpha-glucosidase สามารถใช้ได้ โดยกลไกคือการลดการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตในลำใส้ จึงลดการเกิดน้ำตาลในเลือดสูงภายหลังการรับประทานอาหารซึ่งมักพบในผู้ป่วยโรคตับแข็งอยู่แล้ว
-Thiazolidines อาจจะมีประโยชน์เนื่องจากเพิ่มการตอบสนองต่ออินซูลิน แต่ไม่แนะนำให้เริ่มยาหากพบว่ากำลังมีโรคตับหรือการที่มีระดับ alanine transaminase สูงกว่าค่าปกติเกิน 2.5 เท่า และควรมีการติดตามอย่างใกล้ชิดถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ยา
-ส่วนการให้อินซูลิน พบว่ามีความแตกต่างกันโดยผู้ป่วยที่เป็นตับแข็งชนิด compensated จะมีความต้องการอินซูลินมากกว่าชนิด decompensated ส่วนภาวะดื้อต่ออินซูลินจะมีมากกว่าในตับแข็งชนิด compensated ขณะที่การเมตาโบไลท์ของอินซูลินลดลงมากในตับแข็งชนิด decompensated ดังนั้นการรักษาด้วยอินซูลินจึงควรเริ่มให้การรักษาในโรงพยาบาลและมีการติดตามระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
อ้างอิงและอ่านต่อ http://www.wjgnet.com/1007-9327/15/280.pdf
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555
1,697. ความรู้เรื่องการดูแลรักษาเบาหวานในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็ง
ป้ายกำกับ:
Endocrinology,
Gastrointestinology
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น