กรณีที่สัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งที่ HBsAg เป็นบวก
-ผู้ที่ได้วัคซีนมาครบคอร์สแล้วและไม่ได้ตรวจดูสภาวะภูมิหลังได้วัคซีน ให้ทำการตรวจถ้ามีภูมิคุ้มกันแล้วไม่ต้องรักษาเพิ่ม ถ้าไม่มีภูมิคุ้มกัน ให้ immunoglobulin + ให้วัคซีนกระตุ้น
-ผู้ที่ได้วัคซีนมาครบคอร์สแล้วและเคยตรวจมาแล้วพบว่ามีภูมิคุ้มกัน ไม่ต้องรักษาเพิ่ม
-ผู้ที่ได้วัคซีนมาครบคอร์สแล้วและเคยตรวจมาแล้วพบว่าไม่มีภูมิคุ้มกันให้ immunoglobulin + เริ่มให้วัคซีนใหม่ หรือให้ immunoglobulin 2 ครั้งห่างกัน 1 เดือน
กรณีที่สัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งที่ HBsAg เป็นลบ
-ไม่ต้องให้การรักษาใดๆ เพิ่มยกเว้นผู้ที่ไม่เคยได้วัคซีน ควรเริ่มให้วัคซีน
กรณีที่สัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งที่ไม่ทราบผล HBsAg
-ผู้ที่ได้วัคซีนมาครบคอร์สแล้วและเคยตรวจมาแล้วพบว่ามีภูมิคุ้มกัน ไม่ต้องให้การรักษาเพิ่ม
-ผู้ที่ได้วัคซีนมาครบคอร์สแล้วและเคยตรวจมาแล้วพบว่าไม่มีภูมิคุ้มกันให้ ถ้าเป็นเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ที่มีความเสี่ยงให้รักษาเหมือนการมี HBsAg เป็นบวก
-ผู้ที่ได้วัคซีนมาครบคอร์สแล้วและไม่ได้ตรวจดูสภาวะภูมิหลังได้วัคซีน ให้ทำการตรวจถ้ามีภูมิคุ้มกัน ถ้ามีภูมิคุ้มกันแล้วไม่ต้องรักษาเพิ่ม ถ้าไม่มีภูมิคุ้มกัน ให้วัคซีนกระตุ้นและตรวจภูมิคุ้มกันซ้ำใน 1-2 เดือน
การให้ immunoglobulin และวัคซีนเพื่อป้องกันการติดต่อควรให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะควรให้ภายใน 24 ชม.
Ref: http://www.cdc.gov/mmwr/preview/mmwrhtml/rr5011a1.htm#tab3
http://www.occmedrayong.com/index.php/download/category/2-handout.html?download=10:immunization-for-hcws
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555
1,690 การป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีหลังสัมผัสโรค (Postexposure prophylaxis to prevent hepatitis B virus infection)
ป้ายกำกับ:
Immunology,
Infectious disease
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น