หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

1,688 Dysfunction of the diaphragm

Review article
Current concepts
N Engl J Med    March 8, 2012

กระบังลมมีลักษณะรูปร่างเป็นรูปโดมกั้นแยกระหว่างช่องอกและช่องท้อง เป็นกล้ามเนื้อหลักที่เกี่ยวกับการหายใจ เลี้ยงโดยเส้นประสาท phrenic ซึ่งมาจากรากประสาท C3-C5 ประกอบด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อ (myofibers) ชนิด fatigue-resistant slow-twitch type I และ fast-twitch type IIa ซึ่งกลไกการของทำงานอธิบายได้ดีที่สุดโดยการพิจารณาถึงกายวิภาคและการที่กระบังลมเกาะติดอยู่กับผนังทรวงอก ซึ่งกระบังลมติดกันกับกระดูกซี่โครงส่วนล่างในส่วนที่เรียกว่า zone of apposition เมื่อกระบังลมหดตัว สิ่งที่อยู่ภายในช่องท้องจะเคลื่อนที่ลงล่าง ความดันในช่องท้องจะสูงขึ้นในบริเวณ zone of apposition และกระดูกซี่โคงส่วนล่างจะขยายออก ขบวนการของโรคเกิดเนื่องจากการรบกวนต่อเส้นประสาทที่เลี้ยงกระบังลม คุณสมบัติในการหดตัว หรือกลไกการเชื่อมต่อกับผนังทรวงอกทำให้เกิดการทำงานของกระบังลมผิดปกติ
ซึ่งการทำงานที่ผิดปกติ ดังกล่าวนำไปสู่อาการเหนื่อย ลดความสามารถในการออกกำลัง รบกวนการหายใจขณะนอนหลับ  อาการข้างเคียงที่เกิดร่วม ง่วงนอนหรือหลับมากผิดปกติ ลดคุณภาพชีวิต เกิดภาวะปอดแฟบ และการหายใจล้มเหลว บทความนี้จะมุ่งเน้นไปที่ความผิดปกติที่สัมพันธ์กับการอ่อนแรงและการไม่มีแรงในการเคลื่อนไหวของกระบังลม โดยไม่เกี่ยวกับความผิดปกติทางกายวิภาค
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
Clinical features
Natural history
Cause
Diagnosis
Treatment


อ่านต่อ http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1007236

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น