NSAIDs อาจมีผลต่อไตโดยกลไกที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของการใหลเวียนของเลือด (hemodynamic)
ซึ่งโดยปกติแล้ว prostaglandins จะทำให้เกิดการขยายตัวของเส้นเลือด afferent arterioles ของ glomeruli
ในภาวะที่มีเลือดไปเลี้ยงไตลดลง ไตพยายามที่จะคงให้ความดันของเลือดที่ไปเลี้ยงไตมีค่าใกล้เคียงปกติ เพื่อมิให้เนื้อเยื่อของไตเองขาดเลือดโดยกลไกการเพิ่มระดับของ angiotensin II ซึง angiotensin II มีฤทธิ์ให้เกิดการหดตัวของ efferent arteriole (ส่งผลให้มีเลือดอยู่ในไตมากขึ้น)
แต่การได้รับ NSAIDs ทำให้เกิดการยับยั้ง prostaglandins จึงไม่มี prostaglandins ในการที่จะไปทำหน้าที่ให้เกิดการขยายตัวของ afferent arterioles ทำให้เลือดเข้าสู่ไตลดลง โดยเฉพาะถ้ากำลังมีสาเหตุ ปัจจัยหรือโรคร่วมที่มีแนวโน้มจะทำให้เกิดภาวะ renal failure อยู่แล้ว เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีเลือดไหลเข้าเลี้ยงไตน้อยเนื่องจากโรคหรือภาวะต่าง ๆ ที่เป็นอยู่แล้ว เช่น โรคไตเรื้อรัง congestive heart failure ผู้ป่วยที่มี renal autoregulation บกพร่อง เช่น เป็นเบาหวาน ผู้ป่วยภูมิต้านทานไวเกินหรือผู้ป่วยที่พร่องสาร glutathione เป็นต้น หรือการใช้ยาบางอย่าง เช่น ACEI, diuretic ก็จะทำให้เกิด acute renal failure ได้ง่ายมากขึ้น
และสาเหตุอื่นที่อาจทำให้เกิด acute renal failure จากการใช้ NSAIDs เช่น salt and fluid retention, hypertension และภาวะอื่นๆ ที่พบได้ไม่บ่อยจากการใช้ NSAIDs ได้แก่ interstitial nephritis, nephrotic syndrom หรือ acute tubular necrosis
Ref: http://en.wikipedia.org/wiki/Non-steroidal_anti-inflammatory_drug
http://med.tu.ac.th/uploads/article/non-steroidal_anti-inflammatory_drugs.pdf
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น