การหักแบ่งยาเม็ดออกเป็นสองส่วนหรือมากกว่าสองส่วน เป็นแนวปฏิบัติที่วงการแพทย์และเภสัชกรรมยอมรับกันมานาน อย่างไรก็ตาม การหักแบ่งยาเม็ดอาจก่อให้เกิดปัญหาในลักษณะต่างๆ ได้ ตัวอย่างเช่น ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาในปริมาณที่ต่ำหรือสูงเกินไปเพราะผู้ป่วยไม่สามารถหักแบ่งยาเม็ดออกเป็นสองส่วนที่เท่ากันได้ หรือทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับประโยชน์จากการใช้ยาเท่าที่ควร เพราะการหักแบ่งยาเม็ดอาจมีผลต่อการแตกตัวของยา อัตราการละลายของตัวยาสำคัญออกจากยาเม็ด และความคงสภาพของยา นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางกลุ่มเช่น ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน และผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับความจำหรือสายตา ยังเป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาในการหักแบ่งยาเม็ดมากกว่าผู้ป่วยปกติทั่วไป ดังนั้น แพทย์และเภสัชกรควรตระหนักถึงผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการหักแบ่งยาเม็ด และควรตรวจสอบว่ายาเม็ดแต่ละชนิดสามารถหักแบ่งได้หรือไม่ รวมทั้งพิจารณาว่าผู้ป่วยมีปัญหาในการหักแบ่งยาเม็ดหรือไม่ ก่อนที่จะสั่งให้ผู้ป่วยหักแบ่งยาเม็ด (ข้อความจากบทค้ดย่อ)
โดย จันคนา บูรณะโอสถ และ สรายุทธ์ จันทร์มหเสถียร
ภาควิชาเภสัชเคมี และ ภาควิชาเภสัชวิทยาและพิษวิทยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
Link download: http://drug.pharmacy.psu.ac.th/article/file/260_1-000-SPU-000-0704-01.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น