หน้าเว็บ

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,648 การตรวจคัดกรองค้นหาพาหะของธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ

การตรวจคัดกรองค้นหาพาหะของธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ
(Thalassemia screening test)
วิธีที่นี่นิยมใช้ใ้นปัจจุบันมี 3 วิธี ดังนี้
1. การตรวจค่าดัชนีเม็ดเลือดแดง
2. One tube osmotic fragility test (OFT)
3. DCIP precipitation test
ดัชนีเม็ดเลือดแดง (red cell indicies) ประกอบด้วย MCV (mean corpuscular volume), MCH (mean corpuscular hemoglobin) เป็นค่าที่ตรวจวัดโดยใช้เครื่องวิเคราะห์เม็ดเลือดอัตโนมัติ ค่า MCV มีความแตกต่างกันขึ้นกับอายุด้วย พาหะของธาลัสซีเมียจะมีค่า MCV ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอยู่ 2 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (mean – 2 S.D) เช่น ผู้ใหญ่เพศชายที่เป็นพาหะจะมีค่า MCV < 80 fl สำหรับค่า MCH ในผู้ที่เป็นพาหะใช้ค่าที่ต่ำกว่า 27 pg
One tube osmotic fragility test (OFT)
การทดสอบความเปราะของเม็ดเลือดแดงชนิดหลอดเดียว (one tube osmotic fragility test หรือ OF) เป็นการวัดปริมาณการแตกของเม็ดเลือดแดงในน้ำเกลือเข้มข้นร้อยละ 0.36 ซึ่งเม็ดเลือดแดงของคนปกติจะแตกหมด แต่ในพาหะธาลัสซีเมียจะแตกไม่หมด การทดสอบนี้ให้ผลบวกร้อยละ 90 ของพาหะ β-thalassemia ร้อยละ 93 ของพาหะ α-thalassemia 1 และให้ผลบวกลวงในร้อยละ 5 ของคนปกติ อย่างไรก็ตามภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กก็ให้ผลบวกเช่นกัน
การทดสอบฮีโมโกลบินไม่เสถียรโดยการตกตะกอนสีด้วยดีซีไอพี (dichlorophenol-indolphemol (DCIP) precipitation test)
สี DCIP ทำให้โมเลกุลของฮีโมโกลบินไม่เสถียร (unstable hemoglobin) เกิดการสลายตัวและตกตะกอน จึงใช้ตรวจกรองหาฮีโมโกลบินผิดปกติชนิดต่างๆ ได้แก่ ฮีโมโกลบินอี และ เอช สามารถตรวจกรองพาหะของฮีโมโกลบินอีได้มากกว่าร้อยละ 95 ปัจจุบันได้มีการพัฒนาน้ำยาชุดใหม่โดยคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชื่อ KKU-DCIP-Clear พบว่ามีความไวร้อยละ 100
การตรวจคัดกรองในปจัจุบันจะใช้ 2 วิธีร่วมกันคือ MCV หรือ OFT ร่วมกับ DCIP
แนวทางขั้นตอนและการแปลผล



Ref: อ.ประภา พัตราภรณ์พิศุทธิ์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น