อาจจะสงสัยว่าจะพิจารณาเริ่มและหยุดให้การรักษาการป้องกันการกลับเป็นซํ้าของเก๊าท์อย่างไร
จุดประสงค์คือป้องกันการกำเริบและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดตามมา โดยอาจพิจารณาดังนี้
-ในรายที่มีข้ออักเสบบ่อย เช่น ข้ออักเสบทุก 1-2 เดือน ควรพิจารณาให้ยา colchicine 0.3-1.2 มก./วัน รับประทานทุกวัน
-ในผู้ป่วยที่มีอักเสบกำ เริบไม่บ่อย เช่น ทุก 3-4 เดือนขึ้นไป อาจพิจารณาให้ยาcolchicine รับประทานช่วงที่มีการกำ เริบ โดยเริ่มรับประทานยาเมื่อเริ่มมีอาการปวดข้อ
-ถ้าผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ควจจะให้ยาป้องกันการกำเริบ ได้แก่ เกิดการทำลายกระดูกและการผิดรูป (gouty arthropathy) มีผลให้ไม่สามารถใช้การตำแหน่งที่ได้รับผลจากเก๊าท์ได้ มีนิ่วในไต ภาวะที่อาจมีผลต่อไต
-การพิจารณาหยุดยา colchicine
1. ถ้าผู้ป่วยไม่มีปุ่มโทฟัส ให้พิจารณาหยุดยา colchicine เมื่อผู้ป่วยไม่มีข้ออักเสบกำ เริบภายหลังได้รับยาลดกรดยูริกและควบคุมระดับกรดยูริกได้ตามเกณฑ์ที่ต้องการ เป็นระยะเวลา 6-12 เดือน
2. ถ้าผู้ป่วยมีปุ่มโทฟัส ให้ยาไปจนควบคุมระดับกรดยูริกได้ตามเกณฑ์ที่ต้องการและปุ่มโทฟัสหายไปเป็นระยะเวลา 6-12 เดือน
โดยต้องมีการติดตามระดับกรดยูริกเป็นช่วง ๆ ว่าระดับจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ
Ref: http://www.gotoknow.org/blogs/posts/349988
http://www.uptodate.com/contents/patient-information-gout#H14
http://www.aafp.org/afp/2007/0915/p801.html
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น