วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,672 โรคพิษจากสารทำละลายอินทรีย์ (organic solvents)

โดยสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 
หนังสือแนะนำให้รู้จักกับพิษของสารทำละลายอินทรีย์ (organic solvents) ใน
เบื้องต้น เขียนเข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างชัดเจน กล่าวถึงการแปลผลค่าสาร
ทำละลายอินทรีย์ในสิ่งแวดล้อม และการตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพด้วย


1,671 แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการป้องกันโรคหลอดเลือดแดงขั้นปฐมภูมิในประเทศไทย ปี 2551

วัตถุประสงค์
-เพื่อเป็นแนวทางป้องกันขั้นปฐมภูมิ (primary prevention) ไม่ให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงในผู้ใหญ่ไทย โดยปรับให้เหมาะสมกับเศรษฐกิจและสังคมไทย
-เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในหน่วยบริการพื้นฐาน ในการประเมิน ดูแลรักษาและเฝ้าระวังประชากรที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
-เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากโรคหลอดเลือดแดงและภาวะแทรกซ้อน


วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,670 เหตุผลที่ยังไม่เป็นที่ตกลงในการรักษาโดยการใช้ยาต้านไวรัสในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีในระยะเฉียบพลัน

การให้ยาต้านไวรัสในการติดเชื้อเอชไอวีในระยะเฉียบพลันนั้นยังไม่เป็นที่ตกลงในแนวทางอย่างชัดเจน ต้องรอผลการวิจัย การรักษาด้วยยาต้านไวัรัสมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ จะช่วยลดอาการของการติดเชื้อในระยะเฉียบพลัน ปรับ viral set point คงสภาพภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ ส่วนข้อเสียคือ การให้ยาเร็วขึ้น อาจนำไปสู่การเกิดอาการไม่พึงประสงค์ของยา มีโอกาสเกิดการดื้อยา และไม่ทราบระยะเวลาที่ควรรักษาแน่นอน

Ref: แนวทางการตรวจวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ระดับชาติ ปี พ.ศ. 2553

1,669 เหตุผลที่ต้องคัดกรองไวรัสตับอักเสบบีในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี

ผู้ติดเชื้อเอชไอวีจะมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีประมาณร้อยละ 9 (แตกต่างกันได้ประมาณร้อยละ 6-14) ซึ่งการติดเชื้อจะทำให้เกิดผลทางคลินิกหลายอย่าง เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดตับอักเสบรุนแรงในผู้ที่รับประทานยาต้านไวรัส การเสียชีวิตจากพยาธิสภาพของตับสูงกว่าในผู้ที่ไม่ได้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีประมาณ 3 เท่า ดังนั้นการคัดกรองไวรัสตับอักเสบบี จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนการรักษาพิจารณาสูตรยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อร่วมด้วย  และพิจารณาฉีดวัคซีนในผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน การตรวจหาโดยการตรวจ anti-HBc, anti-HBs และ HBsAg


Ref: แนวทางการตรวจวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ระดับชาติ ปี พ.ศ. 2553

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,668 หนังสือการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เล่ม 1 และ เล่ม 2

โครงการแผนงานเครือข่าย Palliative Care ในโรงเรียนแพทย์
(MS-PCARE : Medical School - Palliative Care Network)
ในแผนงานโรงเรียนแพทย์สร้างเสริมสุขภาพระยะ 4 กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท)
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)



Link download:

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,667 Systemic lupus erythematosus (SLE) with massive pleural effusion

ผู้ป่วยหญิง 18 ปี underlying SLE อาการดีไม่ต้องรับประทานยาอะไร ประมาณ 5 วัน PTA ไอ เหนื่อยง่าย แน่นอกซ้าย ไม่มีไข้ ตรวจร่างกายเสียงปอดด้านซ้ายลดลง ผล CXR เป็นดังภาพแรก ผลน้ำเจาะปอดใสสีเหลืองอ่อน, Cell count: wbc 500, เป็น Mono 75 %, PMN 10 %, Eo 12 %, gram stain: neg, AFB: neg, protein 3.7 gm/dl, sugar 66 mg%, LDH 242 U/L, ADA 11 U/L, culture: no growth, cytology: negative
serum LDH 346 U/L, serum protein 5.51 gm/dl, serum RF: neg.


Pleural fluid protein/serum protein = 0.67, pleural fluid LDH/serum LDH = 0.7 ดังนั้นเข้าได้กับ exudative จากผล ADA ไม่สูง, อาการทางคลินิกและผล cytology ไม่บ่งถึง malignancy, หลักฐานที่บ่งบอกการว่าเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียไม่ชัดเจน จึงคิดถึงว่าน่าจะเกิดจาก underlying SLE ของผู้ป่วยได้ จึงให้การรักษาโดยให้ prednisolone ขนาดสูงและลดขนาดลงเมื่อรักษาได้ประมาณ 10 วัน(ช่วงนี้ผู้ป่วยมีหน้าบวมและตัวบวมจากยาด้วย), 3 สัปดาห์ต่อมาอาการดีขึ้น หายไอ หายแน่นหน้าอก ผล CXR เป็นดังรูปข้างล่าง



ใน SLE pleural effusion มักเป็นสองข้างและมีปริมาณเล็กน้อยถึงปานกลาง ส่วนกรณีที่เป็นข้างเดียวและมีปริมาณมากๆ เกิดการ shift ของหัวใจก็เคยมีการรายงานไว้ โดย pleural effusion จาก connective tissue disease จะเป็นลักษณะของ exudatative และผลการตรวจน้ำเยื่อหุ้มปอดพบว่าเซลเม็ดเลือดขาวที่อาจมีปริมาณสูงเป็นได้ทั้ง PMN จนถึง mononuclear cell ขึ้นกับระยะเวลาที่เริ่มเกิดน้ำ ซึ่งมักจะมีลักษณะคือ pH มากกว่า 7.30,  glucose มากกว่า 60mg/dl, LDH มักไม่เกิน 600 U/L, pleural fluid ANA มากกว่า1:160 ร่วมกับ pleural fluid / serum (PF/S) ANAมากกว่า 1 การรักษาคือให้ คอร์ติโคสเตอรอยด์ โดยการรับประทานหรือให้ทาง intrapleural 
แต่ในกรณีผู้ป่วยนี้ไม่ได้ส่งตรวจเพื่อดู pleural fluid pH, pleural fluid ANA และ pleural fluid / serum (PF/S) ANA ครับ

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,666 วัดความดันโลหิตอย่างไร ให้ถูกต้อง

วัดความดันโลหิตอย่างไร ให้ถูกต้อง
เรียบเรียง โดย อ. นพ.เจริญลาภ อุทานปทุมรส

บทความนี้เหมาะสำหรับ แพทย์,
พยาบาล, ผู้สนใจที่มีความรู้ทางการแพทย์
เนื้อหาประกอบด้วย
-เวลาในการวัดความดันโลหิต และปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิต
-ชนิดของเครื่องมือที่ใช้วัดความดันโลหิต
-ขนาด cuff
-Pseudohypertension
-การจัดท่าผู้ป่วย
-การวาง cuff ในท่านั่ง
-เทคนิคการวัดความดัน
-เสียงที่ได้ยินขณะวัดความดันโลหิต(Korotkoff sound)
-การวัดความดันโลหิตที่ขา
-การวัดความดันที่ข้อมือ

Link download: http://www.thaiheartclinic.com/PDF/BPmeasurement2.pdf

1,665 ข้อคิดเรื่องการรับประทานยาเบาหวานหรือยาความดันโลหิตสูงในวันนัดมาตรวจติดตามการรักษา

อาจจะสงสัยเรื่องการรับประทานยาเบาหวานหรือยาความดันโลหิตสูงในวันนัดมาตรวจติดตามการรักษา
-จากการสืบค้นและที่ปฏิบัติมา จะแนะนำผู้ป่วยว่าอย่าเพิ่งรับประทานยาหรือฉีดมื้อเช้านั้นก่อนมาเจาะเลือด เพราะถ้ายังไม่ได้เจาะเลือดก็จะยังไม่ได้รับประทานอาหาร ซึ่งอาจเกิดภาวะน้ำตาลต่ำได้ และยาที่เพิ่งได้รับเข้าไปก็อาจมีผลต่อระดับน้ำตาลที่ตรวจ แต่ให้นำยากินหรือยาฉีดมาโรงพยาบาลด้วย เมื่อเจาะเลือดแล้ว ให้รับประทานยาหรือฉีดยาตามปกติ และรับประทานอาหารเช้า
-ส่วนเรื่องยาความดันโลหิตสูงถ้าไม่ใช่ภาวะที่ต้อง absolue NPO ก็น่าจะรับประทานยาได้ตามปกติ เพราะดังความเห็นข้างต้นว่าการดื่มน้ำเปล่าเล็กน้อยเพื่อการรับประทานยามักไม่ค่อยมีผลต่อการตรวจระดับน้ำตาลและระดับไขมัน และระดับความดันโลหิตที่ดีควรจะเป็นการดูตลอดทั้งวันและเป็นการเฉลี่ย เนื่องจากมีปัจจัยที่มาเกี่ยวข้องเยอะมาก ทั้งปัจจัยภายในร่างกาย เช่น การเปลี่ยนแปลงความดันโลหิตในแต่ละช่วงของวัน หรือปัจจัยภายนอก เช่น white coat effect ซึ่งกรณีนี้ถ้าเป็นการวัดจากที่บ้านก็จะดี แม้แต่การพูดคุยขณะวัดก็สามารถทำให้ความดันโลหิตเพิ่มได้ถึง 8-15 มม.ปรอท อ่านเรื่องการวัดความดันโลหิตที่ถูกต้องและปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิตตามลิ้งค์ครับ

Ref: 
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=200506
http://www.thaiheartclinic.com/PDF/BPmeasurement2.pdf

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,664 แนวทางการเฝ้าระวังควบคุมโรค การตรวจรักษา และส่งตัวอย่างตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อการกำจัดโรคหัด

แนวทางการเฝ้าระวังควบคุมโรค
การตรวจรักษา และส่งตัวอย่างตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อการกำจัดโรคหัด
ตามโครงการกำจัดโรคหัดตามพันธะสัญญานานาชาติ    วันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๔
โดย
สํานักระบาดวิทยา  กรมควบคุมโรค
สํานักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค
สํานักพัฒนาการแพทย์ กรมการแพทย์
สถาบันวิจัยทิทยาศาสต์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

Link download: http://www.ddc-cmpo.com/downloads/EPI/Measles.rar

1,663 แนวทางการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา โรคในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (กรณีอุทกภัย)

แนวทางการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา โรคในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (กรณีอุทกภัย)
Guideline for Disease Surveillancein Public Health Emergency (Flood)

สำนักระบาดวิทยา
กรมควบคุมโรค
กระทรวงสาธารณสุข

Link download: http://beid.ddc.moph.go.th/th/images/news/flood2553/epiflood.pdf

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,662 Lichen planus

Clinical practice
N Engl J Med     February 23, 2012

Lichen planus เป็นโรคที่มีการการอักเสบของผิวหนังและเยื่อบุซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุ โดยบริเวณผิวหนังและเยื่อบุในช่องปากเป็นบริเวณที่พบได้บ่อยที่สุด บริเวณเยื่อบุอื่น (ได้แก่ อวัยวะสืบพันธ์ หลอดอาหารและเยื่อบุตา) และส่วนที่ยื่นออกมาจากผิวหนัง (เช่น เสันผมและเล็บ) ก็สามารถที่จะเกิดโรคได้ด้วย
ซึ่งสามารถเกิดรอยโรคได้หนึ่งหรือหลายๆ พื้นที่ โดยอาจจะเกิดขึ้นมาพร้อมกันหรือเกิดขึ้นตามมาทีหลัง ลักษณะทางคลินิกมีได้หลากหลายขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิด บริเวณที่เป็นผิวหนังจะเป็นผื่นราบสีม่วง ซึ่งก่อให้เกิดความไม่สวยงาม และอาจทำให้คันได้อย่างมาก  รอยโรคอาจทำให้มีร่องรอยที่เป็นสีเข้มอยู่ได้นาน โดยเฉพาะผู้ที่มีผิวสีคล้ำอยู่แล้ว ส่วนรอยโรคในปากจะมีลักษณะสมมาตรสีขาว คล้ายลักษณะของผ้าลูกไม้ที่เชื่อมต่อกันเป็นร่างแห หรืออาจเป็นผื่นนูน ผื่นนูนหนากว้าง รอยโรคสีแดงและรอยถลอก ซึ่งจะเป็นโรคเรื้อรัง และร่องรอยถลอกจะมีความเจ็บปวด
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
The Clinical Problem
Strategies and Evidence
  Evaluation and Diagnosis
  Management
Areas of Uncertainty
Guidelines
Conclusions and Recommendations
Source Information
Key Clinical Points

อ่านต่อ http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1103641

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,661 บทความฟื้ันฟูวิชาการ โลหิตวิทยา

บทความ​ฟื้นฟูวิชาการ
การให้เลือดในผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
อ. กิตติ​​ ต่อจรัส
กองพยาธิวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
Link http://www.rtamedj.pmk.ac.th/Vol_63/63-1-6.pdf

บทความฟื้ันฟูวิชาการ
การให้เลือดและส่วนประกอบของเลือดอย่างเหมาะสม (Optimal use of blood component)
อ. อภิชัย ลีละสิริ
หน่วยโลหิตวิทยา กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
Link http://www.rtamedj.pmk.ac.th/Vol_63/63-1-5.pdf

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,660 การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมคอยาก (Difficult airway management)

โดย อ.ธนิต วีรังคบุตร
ภาควิชาวิสัญญี คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


1,659 CXR with large thoracic aortic aneurysm

ชาย 75 ปี เจ็บหน้าอกสองข้างเป็นบางช่วงของวัน แต่เจ็บข้างซ้ายมากกว่าขวา เป็นมา 1 สัปดาห์ ไม่ีมีไข้ ไอแห้งๆ เล็กน้อยตรวจร่างกายไม่มีไข้ เหนื่อยหอบเล็กน้อย ไม่บวม ฟังเสียงปอดด้านซ้ายลดลง หัวใจเต้นสม่ำเสมอ ฟังไม่ได้เสียง murmur ผลตรวจ CXR ท่า PA และ lateral เป็นดังนี้ ซึ่งถ้าไม่ใช่ปอดอักเสบ ไม่ใช่ก้อนที่ปอด ไม่ใช่ปอดแฟบ คิดว่าน่าจะเป็นอะไรได้ครับ (interesting + rare case นะครับ)



ขอขอบคุณสำหรับความเห็นครับ
ผล CT chest


วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,658 เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะไตวายเฉียบพลันโดยใช้ RIFLE criteria

เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะไตวายเฉียบพลันโดยใช้ RIFLE criteria เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นมาตรฐานเดียวกัน


-Risk : Cr สูงกว่าเดิม 1.5 เท่า หรือ GFR ลดลงมากกว่า 25 %     หรือปัสสาวะ < 0.5 มล/กก/ชม  x 6 ชม.
-Injury : Cr สูงกว่าเดิม 2 เท่า หรือ GFR  ลดลงมากกว่า 50 %     หรือปัสสาวะ < 0.5 มล/กก/ชม  x 12 ชม.
-Failure :  Cr สูงกว่าเดิม 3 เท่า หรือ GFR  ลดลงมากกว่า 75 %   หรือ Cr > 4 มก/ดล
ร่วมกับมีการเพิ่มขึ้นเฉียบพลัน > 0.5 มก/ดล     หรือปัสสาวะ < 0.3  มล/กก/ชม  x 24 ชม หรือไม่มีปัสสาวะออก x 12 ชม.
-Loss : สูญเสียการทำงานของไตโดยสมบูรณ์ > 4 สัปดาห์
-ESKD : สูญเสียการทำงานของไตโดยสมบูรณ์ > 3 เดือน

Ref: http://thaists.org/news_files/news_file_395.pdf
http://www.medicalcriteria.com/site/index.php?option=com_content&view=article&id=196%3Anefrifle&catid=63%3Anephrology&Itemid=80&lang=en

1,657 คู่มือการเฝ้าระวังการสูญเสียการได้ยิน

โดยสำนักโรคจากการประกอบ อาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 


Link download: https://sites.google.com/site/bestsafetyofficer/file-for-safety-work/OccHearingLoss.pdf?attredirects=0

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,656 การหักแบ่งเม็ดยา (tablet Splitting)

การหักแบ่งยาเม็ดออกเป็นสองส่วนหรือมากกว่าสองส่วน เป็นแนวปฏิบัติที่วงการแพทย์และเภสัชกรรมยอมรับกันมานาน อย่างไรก็ตาม การหักแบ่งยาเม็ดอาจก่อให้เกิดปัญหาในลักษณะต่างๆ ได้ ตัวอย่างเช่น ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาในปริมาณที่ต่ำหรือสูงเกินไปเพราะผู้ป่วยไม่สามารถหักแบ่งยาเม็ดออกเป็นสองส่วนที่เท่ากันได้ หรือทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับประโยชน์จากการใช้ยาเท่าที่ควร เพราะการหักแบ่งยาเม็ดอาจมีผลต่อการแตกตัวของยา อัตราการละลายของตัวยาสำคัญออกจากยาเม็ด และความคงสภาพของยา นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางกลุ่มเช่น ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน และผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับความจำหรือสายตา ยังเป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาในการหักแบ่งยาเม็ดมากกว่าผู้ป่วยปกติทั่วไป ดังนั้น แพทย์และเภสัชกรควรตระหนักถึงผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการหักแบ่งยาเม็ด และควรตรวจสอบว่ายาเม็ดแต่ละชนิดสามารถหักแบ่งได้หรือไม่ รวมทั้งพิจารณาว่าผู้ป่วยมีปัญหาในการหักแบ่งยาเม็ดหรือไม่ ก่อนที่จะสั่งให้ผู้ป่วยหักแบ่งยาเม็ด (ข้อความจากบทค้ดย่อ)

โดย จันคนา บูรณะโอสถ และ สรายุทธ์ จันทร์มหเสถียร
ภาควิชาเภสัชเคมี และ ภาควิชาเภสัชวิทยาและพิษวิทยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

Link download: http://drug.pharmacy.psu.ac.th/article/file/260_1-000-SPU-000-0704-01.pdf

1,655 แนวทางการให้ยาทางสายให้อาหาร

การให้ยาทางสายให้อาหารควรทำด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากอาจทำให้เกิดปัญหาได้ เช่น ยามีปฏิกิริยากับอาหารแล้วทำให้ยาหมดฤทธิ์ในการรักษา หรือยากับอาหารจับกันเป็นก้อนทำให้สายให้อาหารอุดตัน หรือยาถูกดูดซับไว้ที่สายให้อาหารทำให้ปริมาณยาที่ผู้ป่วยได้รับเข้าไปในร่างกายลดลงดังนั้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์จากการให้ยาผ่านทางสายให้อาหาร บุคลากรสาธารณสุขหรือผู้ดูแลผู้ป่วยควรปฏิบัติตามแนวทาง 

โดยสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)

Link download: http://thaihp.org/index.php?option=viewhome&lang=th&id=167&sub=-1&layout=0

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,654 แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้า สำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ

แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้า สำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ
Clinical Practice Guideline of Major Depressive Disorder for General Practitioner : CPG-MDD-GP
จัดทำโดย
คณะทำงานจัดทำแนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
ในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ กรมสุขภาพจิต
การดำเนินงานภายใต้โครงการพัฒนางานการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า ปี 2553
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข


1,653 แนวทางการใช้ยา Risperidone

แนวทางการใช้ยา Risperidone
โรงพยาบาลจิตเวชสังกัดกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข



1,652 ชุดความรู้และแนวทางปฏิบัติการวางแผนจำหน่วยผู้ป่วยจิตเภท ฉบับปรับปรุง 2551

โดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข


วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,651 แนวทางการจัดบริการ การป้องกันเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวีในสถานบริการสุขภาพ

โดยสำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เนื้อหาประกอบด้วย
บทที่ 1 ความเป็นมาและความสำคัญของการป้องกันเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี
บทที่ 2 ข้อมูลพื้นฐานที่ควรรู้เกี่ยวกับการป้องกันเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี
บทที่ 3 กลยุทธ์สำคัญในการให้บริการป้องกันเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวี
บทที่ 4 แนวทางการจัดบริการป้องกันเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวีในสถานบริการสุขภาพ
บทที่ 5 แนวทางการใช้สื่อและอุปกรณ์เพื่อส่งเสริมการป้องกันในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี
บทที่ 6 การให้ข้อมูลเพื่อส่งเสริมการป้องกันในผู้ติดเชื้อเอชไอวี


Link download http://www.gfaidscare.com/doc/prevention%20hiv%20hospital-lisa.pdf

1,650 แนวปฏิบัติของสถานพยาบาลในการให้บริการป้องกันการติดเชื้อจากการสัมผัส

แนวปฏิบัติของสถานพยาบาลในการให้บริการป้องกันการติดเชื้อจากการสัมผัส (Post exposure prophylaxis, PEP)

โดยสำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

เนื้อหาประกอบด้วย
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 การป้องกันอุบัติเหตุ และการสัมผัสเชื้อ
บทที่ 3 ข้อแนะนำสำหรับสถานพยาบาลในการให้การป้องกันการติดเชื้อ
จากการสัมผัสเลือด หรือของเหลว
บทที่ 4 ระบบการรายงานการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติหน้าที่
ภาคผนวก


Link download (มี 2 link)

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,649 The autosomal recessive cerebellar ataxias

Review article
Current concepts
N Engl J Med 2012  February 16, 2012

Autosomal recessive cerebellar ataxias เป็นกลุ่มของโรคที่รู้จักน้อยและมักไม่ค่อยได้รับการรตะหนักถึง ซึ่งความเข้าใจที่มากสุดได้มาจากการติดตามผู้ป่วยจากการปฏิบัติงาน มีการศึกษาจากหลากหลายสาขาเกี่ยวกับโรคนี้ โดยการมุ่งเน้นไปที่ลักษณะทางคลินิกมากกว่าทางด้านโมเลกุล บทความนี้เน้นไปที่รูปแบบหลักของ cerebellar ataxia ซึ่งมีลักษณะเด่นด้านอาการแสดงออก แต่มิได้ทบทวนทั้งหมดของ ataxias ชนิดนี้
Cerebellar ataxia (เป็นคำภาษากรีกโดย a หมายถึง ไม่ [non], taxis หมายถึง ความเป็นระเบียบ เป็นลำดับ [order] ) ซึ่งมีลักษณะของการไม่ประสานของการเคลื่อนไหวและการไม่มั่นคง เนื่องจากความผิดปกติในการทำงานของ cerebellar การตรวจร่างกายจะพบการเดินที่ไม่สมดุลย์ เซ เอียง และลำบากในการตรงเดินต่อเท้าไปข้างหน้า (tandem walking) ระยางค์ส่วนบนและล่างไม่สามารถทำงานเคลื่อนไหวได้ตรงกับเป้าหมาย (dysmetria) มีความลำบากในการเคลื่อนไหวสลับเปลี่ยนมืออย่างรวดเร็ว (dysdiadochokinesia) ความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง การพูดไม่ชัดแบบที่เกิดจากความผิดปกติของ cerebellar (cerebellar dysarthria) การกลอกตาที่มีลักษณะของการเคลื่อนไหวลูกตาเป็นแบบ saccadic ocular pursuit
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบด้วย
Clinically Common Syndromes
  Friedreich's Ataxia
  Ataxia Telangiectasia
  Phenotypic and Genotypic Heterogeneity of Autosomal Recessive Cerebellar Ataxias
  Autosomal Recessive Cerebellar Ataxias for Which Treatment Is Available
  Nonspecific Treatments and Measures
  Biomarkers
  MRI Findings
New Developments
  Epidemiologic Data
  Ataxias with Oculocephalic Dissociation
Areas of Controversy
  Molecular Mechanisms of Friedreich's Ataxia
  Idebenone in Friedreich's Ataxia
  Pathophysiological Pathways
Conclusions
Source Information

Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1006610

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,648 การตรวจคัดกรองค้นหาพาหะของธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ

การตรวจคัดกรองค้นหาพาหะของธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ
(Thalassemia screening test)
วิธีที่นี่นิยมใช้ใ้นปัจจุบันมี 3 วิธี ดังนี้
1. การตรวจค่าดัชนีเม็ดเลือดแดง
2. One tube osmotic fragility test (OFT)
3. DCIP precipitation test
ดัชนีเม็ดเลือดแดง (red cell indicies) ประกอบด้วย MCV (mean corpuscular volume), MCH (mean corpuscular hemoglobin) เป็นค่าที่ตรวจวัดโดยใช้เครื่องวิเคราะห์เม็ดเลือดอัตโนมัติ ค่า MCV มีความแตกต่างกันขึ้นกับอายุด้วย พาหะของธาลัสซีเมียจะมีค่า MCV ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอยู่ 2 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (mean – 2 S.D) เช่น ผู้ใหญ่เพศชายที่เป็นพาหะจะมีค่า MCV < 80 fl สำหรับค่า MCH ในผู้ที่เป็นพาหะใช้ค่าที่ต่ำกว่า 27 pg
One tube osmotic fragility test (OFT)
การทดสอบความเปราะของเม็ดเลือดแดงชนิดหลอดเดียว (one tube osmotic fragility test หรือ OF) เป็นการวัดปริมาณการแตกของเม็ดเลือดแดงในน้ำเกลือเข้มข้นร้อยละ 0.36 ซึ่งเม็ดเลือดแดงของคนปกติจะแตกหมด แต่ในพาหะธาลัสซีเมียจะแตกไม่หมด การทดสอบนี้ให้ผลบวกร้อยละ 90 ของพาหะ β-thalassemia ร้อยละ 93 ของพาหะ α-thalassemia 1 และให้ผลบวกลวงในร้อยละ 5 ของคนปกติ อย่างไรก็ตามภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กก็ให้ผลบวกเช่นกัน
การทดสอบฮีโมโกลบินไม่เสถียรโดยการตกตะกอนสีด้วยดีซีไอพี (dichlorophenol-indolphemol (DCIP) precipitation test)
สี DCIP ทำให้โมเลกุลของฮีโมโกลบินไม่เสถียร (unstable hemoglobin) เกิดการสลายตัวและตกตะกอน จึงใช้ตรวจกรองหาฮีโมโกลบินผิดปกติชนิดต่างๆ ได้แก่ ฮีโมโกลบินอี และ เอช สามารถตรวจกรองพาหะของฮีโมโกลบินอีได้มากกว่าร้อยละ 95 ปัจจุบันได้มีการพัฒนาน้ำยาชุดใหม่โดยคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชื่อ KKU-DCIP-Clear พบว่ามีความไวร้อยละ 100
การตรวจคัดกรองในปจัจุบันจะใช้ 2 วิธีร่วมกันคือ MCV หรือ OFT ร่วมกับ DCIP
แนวทางขั้นตอนและการแปลผล



Ref: อ.ประภา พัตราภรณ์พิศุทธิ์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
มูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,647 ข้อควรทราบเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและสิ่งที่ไม่ควรกระทำกับบาดแผลงูกัด

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัด
1.ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือทันที ใช้ผ้าพันแผลหรือผ้าพันเคล็ดชนิดยืดหยุ่นได้ เริ่มพันจากรอยแผลถูกกัดแล้วพันต่อไปจนถึงข้อต่อ หรือสูงเหนือบาดแผลให้มากที่สุด 
2.หาไม้กระดานหรือวัสดุที่มีความแข็งมาดาม แล้วพันด้วยผ้าพันแผลทับอีกครั้ง เพื่อให้อวัยวะส่วนที่ถูกกัดเคลื่อนไหวน้อยที่สุด 
3.นำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้โดยเร็วที่สุด เพื่อรับการรักษา
สิ่งที่ไม่ควรกระทำกับบาดแผลงูกัด 
1.ไม่ควรใช้ไฟจี้ หรือมีดกรีดบาดแผล เพราะจะทำให้แพทย์วินิจฉัยผิดพลาด
2.ไม่ควรใช้การขันชะเนาะ เพราะอาจทำให้อวัยวะขาดเลือดได้
3.ไม่ควรใช้ปากดูดแผล
4.ไม่ควรให้ผู้ป่วยดื่มสุร
5.ไม่ควรให้ยากระตุ้นหัวใจ มอร์ฟีน ยาระเหย หรือยาแก้แพ้ต่างๆ เพราะจะทำให้สับสนถึงอาการของพิษงูทางระบบประสาท
6.ในรายที่มีอาการปวดบาดแผลมาก แนะนำให้ใช้ยาพาราเซตามอล เพื่อระงับอาการปวดได้ 

Ref: http://www.saovabha.com/Flipbook/pdf/JAN08.pdf

1,646 ข้อควรทราบเรื่องการป้องกันการกลับเป็นซํ้าของเก๊าท์

อาจจะสงสัยว่าจะพิจารณาเริ่มและหยุดให้การรักษาการป้องกันการกลับเป็นซํ้าของเก๊าท์อย่างไร 

จุดประสงค์คือป้องกันการกำเริบและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดตามมา โดยอาจพิจารณาดังนี้
-ในรายที่มีข้ออักเสบบ่อย เช่น ข้ออักเสบทุก 1-2 เดือน ควรพิจารณาให้ยา colchicine 0.3-1.2 มก./วัน รับประทานทุกวัน
-ในผู้ป่วยที่มีอักเสบกำ เริบไม่บ่อย เช่น ทุก 3-4 เดือนขึ้นไป อาจพิจารณาให้ยาcolchicine รับประทานช่วงที่มีการกำ เริบ โดยเริ่มรับประทานยาเมื่อเริ่มมีอาการปวดข้อ
-ถ้าผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ควจจะให้ยาป้องกันการกำเริบ ได้แก่ เกิดการทำลายกระดูกและการผิดรูป (gouty arthropathy) มีผลให้ไม่สามารถใช้การตำแหน่งที่ได้รับผลจากเก๊าท์ได้ มีนิ่วในไต ภาวะที่อาจมีผลต่อไต
-การพิจารณาหยุดยา colchicine
1. ถ้าผู้ป่วยไม่มีปุ่มโทฟัส ให้พิจารณาหยุดยา colchicine เมื่อผู้ป่วยไม่มีข้ออักเสบกำ เริบภายหลังได้รับยาลดกรดยูริกและควบคุมระดับกรดยูริกได้ตามเกณฑ์ที่ต้องการ เป็นระยะเวลา 6-12 เดือน
2. ถ้าผู้ป่วยมีปุ่มโทฟัส ให้ยาไปจนควบคุมระดับกรดยูริกได้ตามเกณฑ์ที่ต้องการและปุ่มโทฟัสหายไปเป็นระยะเวลา 6-12 เดือน
โดยต้องมีการติดตามระดับกรดยูริกเป็นช่วง ๆ ว่าระดับจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ

Ref: http://www.gotoknow.org/blogs/posts/349988
http://www.uptodate.com/contents/patient-information-gout#H14
http://www.aafp.org/afp/2007/0915/p801.html

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,640 Preecclampsia

หญิง 29 ปี ตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ บวมทั่วร่างกาย 1 สัปดาห์ ไม่มีปวดศรีษะ ไม่มีหอบเหนื่อย ไม่แน่นหน้าอก BP 150/90, 160/100 mmHg, HL:WNL, Abd: not tender, Pitting edema leg 1+
ผลตรวจ UA: albumin 1+ - 2+, urine protein 24 hrs. 1,176 gm. Chol 182 mg/dl , serum albumin 2.71 mg/dl จะให้การวินิจฉัยอะไรและรักษาอย่างไรครับ ?


ขอขอบคุณสำหรับควาเห็นครับ
จากข้อมูลพบว่า โดยรวมแล้วผู้ป่วยน่าจะอยู่ระดับ mild preecclampsia ยกเว้นว่า systolic BP ของผู้ป่วย = 160 mmHg ซึ่งถ้า BP สูงเช่นนี้ตลอด แสดงว่าเริ่มอาจเข้าสู่ภาวะ sevrere preecclampsia 
ซึ่งการพิจารณาให้การรักษาอาจจะติดตามและพิจารณาเพิ่มเติมรวมถึงการพิจารณาดูสิ่งตรวจพบตามในตารางที่ยังไม่ได้ให้มาในโจทย์ร่วมด้วย  โดยในลิ้งค์ของอ้างอิงด้านล่างนี้จะมีรายละเอียดครบถ้วนรวมถึงการรักษา mild และ severe preecclampsia ร่วมด้วยครับ

1,639 Atrial septal defect (ASD) with pulmonary tension

ชาย 49 ปี มาตรวจเพื่อรับใบรับรองแพทย์ ตรวจพบมี FC 1, No edema, H: regular, systolic ejection murmur grade 2 at left lower sternal border ผลตรวจ CXR, EKG, Basic echocardiography พบดังนี้
จะให้การวินิจฉัยและรักษาอย่างไรครับ ?


4 chamber view echocardiography

ขอขอบคุณสำหรับความเห็นครับ
CXR: คิดว่ามี enlargement of main pulmonary artery and right pulmonary artery และ + - enlargement LA, EKG มี complete right bundle branch block ส่วน echocardiography จะเห็น flow วิ่งข้าม atrial septum จาก LA ไป RA การเกิด flow สีแดง เพราะใน view นี้ flow ของเลือดจะพุ่งเข้าหา echo transducer แต่ยังไม่มี Eisenmenger's Complex เพราะไม่มี flow สีน้ำเงินวิ่งย้อนกลับจาก RA มา LA
และพบมีขนาดของหัวใจด้านขวาโตมากกว่าด้านซ้าย ซึ่งเข้าได้กับ pulmonary hypertension ที่ยังไม่มี eisenmenger syndromes 
และถึงแม้ว่าตำแหน่งของเสียงจะฟังได้ชัด left lower sternal border อาจนึกว่าเป็น VSD แต่ถ้าเป็น VSD น่าจะฟังได้เป็น pan systolic murmur มากกว่า (ส่วน ASD จะเป็น systolic ejection murmur ที่ left upper sternal border)  และจากผล echocardiography ที่เห็นช่วยยืนยันว่าเป็น ASD ครับ

1,638 DM with hyperlipidemia

ชาย 39 ปี DM ผลตรวจมีไขมันในเลือดสูง Chol 277, TG 271, HDL 42, LDL 180 จะมีหลักในเลือกยาลดไขมันอย่างไรครับ?

ขอขอบคุณสำหรับความเห็นครับ
แนวทางเวชปฎิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2554 เขียนไว้ว่า
LDL-C
• ควรต่ำกว่า 100 มก./ดล. ในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นร่วมด้วย
• หลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต ถ้าระดับ LDL-C ยังสูงกว่าเป้าหมาย ควรให้ยากลุ่ม statin
• ผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 40 ปีที่มีระดับ LDL-C ระหว่าง 100-129 มก./ดล. และไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นอาจไม่จำเป็นต้องเริ่มยาลดระดับไขมันโคเลสเตอรอล แต่ต้องเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตมากขึ้น
HDL-C และ triglyceride
• เน้นการลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย และควบคุม อาหารข้าว แป้ง และน้ำตาลมากขึ้น
• ถ้าระดับ triglyceride ในเลือดอยู่ระหว่าง 200-499 มก./ดล. แนะนำให้ใช้ non-HDL-C เป็นเป้าหมายที่ 2 ต่อจาก LDL-C คือให้ non-HDL-C ต่ำกว่า 130 มก./ดล. (non-HDL-C คำนวณจากการลบ HDL-C ออกจากคอเลสเตอรอลรวม)
• ถ้าระดับ non-HDL-C ในเลือดยังสูงกว่าเป้าหมายในขณะได้ยา statin ขนาดสูง พิจารณาให้ยากลุ่มfibrate หรือ niacin ร่วมด้วย
• ในกรณีระดับ triglyceride ในเลือดเท่ากับหรือสูงกว่า 500 มก./ดล. ให้พิจารณาเริ่มยากลุ่ม fibrateหรือ niacin ก่อนยากลุ่ม statin

จากข้อมูลข้างบนจะเห็นว่า LDL ของผู้ป่วยยังสูงเกิน 100 มก./ดล. และแม้เมื่อมาดูที่ TG ซึ่งอยู่ระหว่าง 200-499 มก./ดล. ซึ่งจากแนวทางแนะนำให้ใช้ non-HDL-C เป็นเป้าหมายที่ 2 ก็ยังสูงกว่า 130 มก./ดล. ดังนั้นจึงยาที่ควรจะเลือกจึงควรเป็น statin ครับ


Ref: แนวทางเวชปฎิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2554

1,637. Renal tubular acidosis, distal RTA (type 1)

หญิง 77 ปี มีปัญหาโปแตสเซียมในเลือดต่ำเรื้อรัง (chronic hypokalemia) ผลตรวจพบมี Na 129.6 mEq/L , K 2.2 mEq/L , Cl 108.2 mEq/L , CO2 11 mEq/L,  BUN 10.9 mg/dl , Cr 1.3 mg/dl
Serum osm 229 mOsm, Urine osm 199 mOsm, Urine Na 58.8 mEq/L, Urine K 19.49 mEq/L, Urine Cl 67.7 mEq/L, UA: pH 7.5 other WNL จะให้การวินิจฉัยอะไร และให้การรักษาอย่างไรครับ ?

ขอขอบคุณสำหรับควาเห็นครับ
ค่าที่บ่งบอกถึงมีการสูญเสียโพแทสเซียมในปัสสาวะในขณะที่ระดับโพแทสเซียมในเลือดตํ่า ได้แก่
1. Urine potassium > 20 mEq/L หรือ 20 mEq/day (บางตำราใช้เกณฑ์ > 15 mEq/day) หรือ
2. ค่า Transtubular Potassium Gradient (TTKG) > 2 (ส่วนในหนังสือ Harrison เอาที่ 3-4)
หลังจากทราบว่าเป็น renal potassium loss ก็ไปหาต่อโดยแยกว่าอยู่ในกลุ่ม Normal acid base status หรืออยู่ในกลุ่ม metabolic acidosis หรือกลุ่ม metabolic alkalosis ดังแผนภาพด้านล่าง
ดังนั้นในกรณีนี้ TTKG = 10.19, Urine K 19.49 mEq/L จึงบ่งบอกถึงมีการสูญเสียโพแทสเซียมในปัสสาวะ เมื่อคำนวน anion gap = 10 ซึ่งเท่ากับ normal gap (ค่าปกติ  8-16) จึงเหลือสาเหตุที่เป็นไปได้คือ renal tubular acidosis (RTA), carbonic anhydrase inhibitor และ ureterosigmoidoscopy จากประวัติจึงน่าจะตัดสาเหตุ 2 อย่างสุดท้ายออกได้ ต่อมาแยกระหว่างชนิดของ RTA โดยดูดังนี้
-Distal RTA (type 1): จะมี positive urinary anion gap urine, pH > 5.5 with HCO3 < 15, hypokalemia/hyperkalemia
-Proximal RTA(type 2) : negative urinary anion gap, glycosuria, protienuria, hypokalemia, hypophosphatemia

ซึ่ง RTA type 1 เกิดที่ distal tubules จากการที่ขับ H+ ไม่ได้จึงขับ K+ ออกแทน ส่วนใหญ่จะต้องหาสาเหตุด้วย 
ดังนั้นจึงน่าจะเข้าได้กับ Distal RTA หรือ type1 ให้การรักษาโดยการให้ sodium bicarbonate และให้ K+ supplement

กดที่ภาพเพื่อขยายขนาด

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,636 IgG4-related disease

Review article
Mechanisms of disease
N Engl J Med  February 9, 2012

โรคที่มีความสัมพันธ์กับ IgG4 (IgG4-related disease) ได้รับการรับรู้เมื่อเร็วๆ ว่าเป็นสภาวะที่มีลักษณะพยาธิวิทยาที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับระบบอวัยวะต่างๆ ในวงกว้าง สภาวะนี้เป็นการวมความผิดปกติทางการแพทย์ที่มีจำนวนมากซึ่งก่อนหน้านี้คิดว่าเป็นเรื่องของระบบอวัยวะเดียว
ความเชื่อมโยงอย่างถูกต้องในลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาชนิดเต็มรูปแบบของโรคที่เกี่ยวข้องกับ IgG4, ความถี่บ่อยของ IgG4 ที่สูงขึ้นและการค้นพบ IgG4-bearing plasma cells ในเนื้อเยื่อยังคงที่จะมีการตรวจสอบอย่างเต็มที่ต่อไป
และความเข้าใจที่ครอบคลุมของโมเลกุล IgG4, แง่มุมที่หลากหลายของโรคที่เกี่ยวข้องกับ IgG4 และการตอบสนองของโรคนี้ต่อการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสูญเสีย B-เซลล์, อาจให้ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญในระบบภูมิคุ้มกันและสภาวะอื่น ๆ ที่ปัจจุบันทราบว่ามีความสัมพันธ์กับ IgG4
เนื้อหาโดยละเอียดประกอบไปด้วย
The IgG4 Molecule
IgG4 in Other Diseases
Pathological Features of IgG4-Related Disease
Pathophysiological Mechanisms
   Potential Initiating Mechanisms
   Specific Disease Pathways
Epidemiologic Characteristics
Clinical Features of Organ-System Involvement
Imaging Features
Serologic Findings
Treatment
Conclusions
Source Information

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,635 กลไกการเกิด EKG แบบ Wolff-Parkinson-White syndrome (WPW)

Wolff-Parkinson-White syndrome (WPW) เกิดขึ้นเนื่องจากสัญญาณไฟฟ้าจาก atrium  ถูก
ส่งผ่านมายัง ventricle โดยทั้งทาง accessory pathway และทาง AV node (โดยจะเรียก accessory pathway นี้ว่า Bundle of Kent หรือ Kent bundle pathway)
แต่เนื่องจากสัญญญาณไฟฟ้าจะไม่ถูก delayed ภายใน accessory pathway ทําให้สัญญาณไฟฟ้าที่ผ่านทาง accessory pathway มากระตุ้น ventricle  ได้เร็วกว่าปกติทำให้ช่วง PR สั้นลง(ไม่มีการชะลอสัญญาณ) และจะกระตุ้นให้เกิด depolarization ของ ventricle อย่างช้าๆ (ventricular preexcitation) จึงได้ QRS complex ตัวกว้างๆ
ในขณะที่สัญญาณที่ลงมาตามปกติผ่าน AV node แม้จะเสียเวลาที่ AV node ไปบ้าง แต่ต่อมาก็สามารถแพร่กระจายไปได้ทั่ว ventricle อย่างรวดเร็วตามระบบกระแสไฟฟ้าของหัวใจ (conductive system) จนมาบรรจบกับบริเวณที่ถูก depolarization ด้วย Kent bundle pathway อยู่ก่อน ทำให้เกิดการผสมกันของ QRS ตัวกว้างๆ ในช่วงแรกและ QRS ตัวแคบๆ ที่มาตามปกติ เกิดการหักเหของมุมของ QRS เกิดเป็น delta wave ซึงเราเรียก EKG ลักษณะนี้ว่า Wolff-Parkinson-White syndrome (WPW)
เพิ่มเติม
-Accessory pathway อาจเรียกว่า bypass tract
-Accessory pathway หรือ bypass tract เกิดเนื่องจากการที่ฉนวนที่กั้นระหว่าง atrium และ ventricle = การมีรูรั่ว และเกิดทางเชื่อม ซึ่ง pathway นี้จะไม่มีคุณสมบัติในการชะลอสัญญาณเหมือน AV node สัญญาณจึงลงมากระตุ้น ventricle ได้เร็วกว่าปกติ


Ref: http://www.pha.nu.ac.th/apirukw/ambu/uploads/E831B_Handout_Pharmacotherapeutics_ARH_50.pdf
Electrocardiography for medical student อ. อภิชาต สุคนธสรรพ์

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,634 ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทยปกติ

ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทยปกติและคำอธิบาย
แนะนำโดยสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2554
อาจจะเป็นของเด็กแต่บางครั้งอาจก็เกี่ยวเนื่องกับความเจ็บป่วยเมื่อเป็นผู้ใหญ่ และวัคซีนบางชนิดก็ฉีดต่อเนื่องมาจนถึงเป็นผู้ใหญ่  จึงนำมาแนะนำให้ครับ


1,633 ความสำคัญและข้อควรทราบของ mean arterial pressure (MAP)

อาจจะสงสัยในใจว่าทำไมต้องคำนวนและนำค่า mean arterial pressure มาใช้ มีความแตกต่างการการวัดค่าความดันตามปกติอย่างไร จากการสืบค้นพบดังนี้ครับ
ความดันเลือดจะไม่คงที่ มีช่วงที่สูงสุดคือ systolic pressure และช่วงที่ต่ำสุดคือ diastolic pressure
ดังนั้นการใช้ mean arterial pressure จึงเป็นการเฉลี่ยใช้ค่าที่เป็นผลโดยรวม ไม่ใช่ช่วงที่ความดันสูงสุดหรือต่ำสุด
เป็นการดู  perfusion pressure ของอวัยวะในร่างกาย เชื่อว่า MAP ที่มากกว่า 60  mmHg จะเพียงพอที่จะทำให้เลือดใหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง เช่น สมอง ไต เส้นเลือดแดงโคโรนารี อื่นๆ ได้อย่างต่อเนื่องเพียงพอ แต่ถ้าต่ำลงจะทำให้อวัยวะนั้นๆ ขาดเลือดได้  การคำนวนไม่ใช่การเอา (DBP+SBP)/2 แต่สูตรคือ [(2xdiastolic)+systolic]/3
ที่มาของสูตรคือ การบีบตัวและคลายตัวของหัวใจจะเป็นสัดส่วนระยะเวลาที่ไม่เท่ากัน โดยช่วงเวลาที่หัวใจใช้ในการบีบตัวจะกินเวลาแค่ 1 ใน 3 ในขณะที่ช่วงที่หัวใจคลายตัวจะกินระยะเวลาที่ยาวมากกว่า คือคิดเป็น 2/3
เมื่อเราทราบดังนี้แล้ว ค่าเฉลี่ยของแรงดันเลือดจึงเป็นผลมาจากค่า DBP มากกว่าค่า SBP จึงต้องใช้การหารเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก นั่นคือให้ตัวคูณของค่า DBP เป็น 2 และตัวคูณของค่า SBP เป็นหนึ่ง หารด้วยผลรวมของสัดส่วนตัวคูณของทั้งสอง นั่นคือ 2+1 = 3
ได้ออกมาเป็นสูตร (2xDBP)+(1xSBP) /3 =  [(2xdiastolic)+systolic]/3
ค่าปกติบางอ้างอิงใช้ที่ 70-110 mmHg บางอ้างอิงใช้ที่ 70 - 100 mm Hg บางอ้างอิงใช้ที่ 70 - 105 mmHg (และส่วนใหญ่ค่อนข้างตรงกันโดยบอกว่า ค่าที่มากกว่า 60  mmHg จะเพียงพอต่อการนำเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาในข้างต้น)

Ref:
http://www.kluaynamthai.com/nursery/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2511
http://en.wikipedia.org/wiki/Mean_arterial_pressure
http://www.ps.si.mahidol.ac.th/PSBoard/psboard_Question.asp?GID=747
http://www.buzzle.com/articles/mean-arterial-pressure.html

1,632 ข้อแตกต่างของ gout และ hyperuricemia

มีคำถามเกี่ยวกับข้อแตกต่างของ gout และ hyperuricemia จึงขออนุญาติผู้ถามขอนำมาลงในเว็บนะครับ
เก๊าท์ (gout) หมายถึงการอักเสบของข้อชนิดหนึ่งที่เกิดจากการมีผลึกของกรดยูริค (monosodium urate crystals) สะสมอยู่ในน้ำเลี้ยงข้อและในเนื้อเยื่ออื่นๆ โดยมักจะสัมพันธ์กับการมีกรดยูรีคในเลือดสูง (hyperuricemia) คือตั้งแต่ 6.8 mg.dl ขึ้นไป โดยการมีกรดยูรีคในเลือดสูงอาจไม่จำเป็นต้องเป็นเก๊าท์เสมอไป โดยเก๊าท์จะแบ่งเป็น 2 ช่วงตามลักษณะอาการทางคลินิกคือ ช่วงแรกคือจะมีการอักเสบเฉียบพลันซึ่งอาจหายได้เอง ช่วง 7-10 วันร่วมกับช่วงที่ไม่มีอาการ ถ้าให้การรักษาภาวะ hyperuricemia ไม่เพียงพอ จะเปลี่ยนเข้าสู่ระยะที่สองซึ่งจะมีก้อนสะสมตามข้อต่างๆและเนื้อเยื่อของร่างกาย (chronic tophaceous gout ) และจะมีอาการอักเสบกำเริบได้

Ref: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1001124

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,631 เหตุผลที่ต้องตรวจโปรตีนในปัสสาวะซ้ำในการที่จะวินิจฉัยโรคไตจากเบาหวาน

ในหนังสือแนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานกล่าวว่าในการตรวจหาการมีโปรตีนในปัสสาวะ (proteinuria หรือ albuminuria) ถ้าผลเป็นบวก ให้ตรวจซ้ำอีก 1-2 ครั้งใน 6 เดือน โดยมีผลเป็นบวก 2 ใน 3 ครั้ง จึงให้การวินินฉัยและรักษา
จากการสืบค้นเพิ่มเติมพบว่า น่าจะมีเหตุผลเนื่องมาจากเป็นการช่วยยืนยันว่ามิได้เกิดจากผลบวกปลอม (false positive ) และเป็นภาวะที่มีโปรตีนออกมาในปัสสาวะแบบต่อเนื่องมิใช่เป็นการเกิดขึ้นชั่วคราว สาเหตุ เช่นภาวะปัสสาวะเป็นด่างโดยมี pH มากกว่า 7.5 การได้รับยาบางอย่าง การเจือจางปัสสาวะ การมีเลือดในปัสสาวะ การปนเปื้อนเยื่อเมือกจากช่องคลอดหรือจากน้ำเชื้อผู้ชาย การมีเม็ดเลือดขาว เช่นการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การมีไข้ การเจ็บป่วยบางอย่าง เช่น การมีภาวะหัวใจล้มเหลว การออกกำลังกายหนัก ตั้งครรภ์

Ref: http://www.diabassocthai.org/images/download/aw_cpg.pdf
http://www.aafp.org/afp/2000/0915/p1333.html
http://medical-dictionary.thefreedictionary.com/false+proteinuria

1,630 ทำไมติด EKG 10 จุด คือที่อก 6 จุด และแขนขา 4 จุดจึงกลายเป็น EKG 12 lead ?

เนื่องจากเป็นการติด 10 จุดจริงแต่เวลา ดูในรายละเอียดจะพบว่าเป็นการวัดความต่างศักย์ระหว่างแต่ละจุด เมื่อรวมทั้งหมดจึงเป็นการวัดทั้งหมด 12 จุด ดังนี้
Bipolar limb leads วัดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่าง2 จุดของแขน/ขา
Lead 1 วัดความต่างศักย์ไฟฟ้าของแขนซ้าย-แขนขวา
Lead 2 วัดความต่างศักย์ไฟฟ้าของขาซ้าย-แขนขวา
Lead 3 วัดความต่างศักย์ไฟฟ้าของขาซ้าย-แขนซ้าย
Unipolar limb leads วัดvoltageของแขน/ขา เทียบกับ central terminalซึ่งมีศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์
Lead aVR วัด voltage ของแขนขวา (a คือ electrical augmentation 50% )
Lead aVL วัด voltage ของแขนซ้าย
Lead aVF วัด voltage ของขาซ้าย
- Chest leads วัดvoltageในแนวhorizontal plane:unipolar leads
Lead V1-V6 วัด voltageที่จุดต่างๆที่V1-V6 เทียบกับ central terminal (indifferent
electrode)
Ref
http://www.si.mahidol.ac.th/th/division/cpr/Download/BasicECG%20by%20dr%20Chareanlap.pdf
http://answers.yahoo.com/question/index?qid=20081012194733AAmSe9l

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,629 Thalassemia: Iron overload, clinical consequences and iron chelators

โดย รศ.นพ. กิตติ  ต่อจรัส
เนื้อหาประกอบด้วย
Iron distribution
Iron overload
Consequences of iron overload
การประเมินภาวะเหล็กเกิน
Iron chelator
ข้อบ่งใช้ (indication) ยาขับธาตุเหล็ก
ยาขับธาตุเหล็กที่ใช้ในปัจจุบัน
อาการไม่พึงประสงค์
ประสิทธิผล (efficacy) ของยา
Combined therapy

1,628 Hemoglobin H - constant spring with pneumonia and hemolysis anemia

ผู้ป่วยชาย 19  ปี underlying hemoglobin H with constant spring มาด้วย ไข้เหนื่อย  อ่อนเพลีย ปัสสาวะมีสีดำ 2 วัน ตรวจพบมี bacterial pneumonia ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเข้าได้กับการมี hemolysis ไม่พบการมี  autoimmune hemolytic anemia (AIHA) นอกเหนือจากการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อแก้ไขสาเหตุแล้ว จึงสืบค้นเพิ่มเติม พบว่าในอ้างอิงส่วนใหญ่จะบอกว่าการให้ glucocorticoid จะให้ในกรณีที่เป็น AIHA ในกรณีนี้จึงไม่ต้องให้ และจะใหัเลือดเมื่อมีภาวะซีดมาก (severe anemia) แต่อ้างอิงไม่ได้บอกตัวเลขมา จึงสืบค้นนิยามของคำว่า severe anemia เช่นของ WHO พบว่าหมายถึง Grade 3 (Severe Anemia) โดยมี HB น้อยกว่า 7 g/dl ส่วนของ National Cancer Institute คือตั้งแต่ grade 3 (severe) Hb 6.5–7.9 g/dl ส่วน grade 4 (life threatening) <6.5 g/dl หรือในทางปฏิบัติผู้เขียนคิดว่าน่าจะหมายถึงภาวะซีดที่มีผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย หรือมีผลต่อ hemodynamic ของร่างกายด้วย แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาของโรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจ-ปอดที่ค่อนข้างรุนแรงอยู่แล้วการให้เลือดอาจจะต้องให้ระดับสูงกว่านี้แต่ต้องให้โดยไม่เร็วเกินไป

ภายหลังให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ 4 วันต่อมาไข้ลง ภาวะซีดดีขึ้น ปัสสาวะสีกลับมาปกติ ดังภาพ และให้กลับบ้านได้ รวมเวลาที่ให้การรักษา 7 วันครับ


Ref: http://emedicine.medscape.com/article/201066-treatment#aw2aab6b6b2
http://www.aafp.org/afp/2004/0601/p2599.html
http://en.wikipedia.org/wiki/Anemia

1,627 การสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม

การสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (Investigation occupational and environmental disease)
โดย แสงโฉม เกิดคล้าย
สำนักระบาด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข



วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,626 การแบ่งชนิดของ atrial fibrillation

อาจเคยพบการแบ่งชนิดของ atrial fibrillation ลองมาดูความหมายกันนะครับ
-Chronic/permanent : การมี AF ต่อเนื่อง ไม่ตอบสนองต่อการทำ cardioversion (และไม่ควรพยายยามทำต่อ)
-Lone : เกิดในคนที่อายุมากกว่า 60 ปี ซึ่งไม่มีอาการหรือตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจไม่พบสาเหตุ
-Nonvalvular : ไม่ได้มีสาเหตุจากโรคของลิ้นหัวใจ ลิ้นหัวใจเทียม หรือการซ่อมแซมลิ้นหัวใจ
-Paroxysmal : เกิดขึ้นมาแล้วหายไปได้เอง
-Persistent : เกิดขึ้นชั่วคราวและอยู่นานเกิน 7 วัน หรือสิ้นสุดลงได้จากการทำ cardioversion เท่านั้น
-Recurrent :  การเกิดขึ้นตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป
-Secondary : มีสาเหตุหรือเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดโดยสามารถแยกออกได้ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, การผ่าตัดหัวใจ, โรคปอด ไทรอยด์เป็นพิษ

1,625. Acid-fast bacillus (AFB) smear report

เมื่อได้รับผลรายงาน AFB stain อาจจะลืมแล้วว่าเกณฑ์ในการรายงานเป็นอย่างไร ลองมาทบทวนกันนะครับ

การรายงานผล AFB จะใช้วิธีของ (National tuberculosis association, USA) scale ของ CDC โดยจะเลื่อนดูสไลด์ดังภาพ ซึ่งจะได้พื้นที่ประมาณ 300 oid field และควรใช้เวลาในการดูอย่างน้อย 15 นาที จึงจะบอกว่าผลเป็นลบ แต่ถ้าพบให้รายงานผลดังนี้
0 = ไม่พบเชื้อ
1-2/300 oil field รายงานจำนวนเชื้อที่พบแล้วขอสิ่งส่งตรวจมาตรวจซ้ำ
1-9/100 oil field  = 1+ 
1-9/10 oil field  = 2+ 
1-9/1 oil field  = 3+ 
> 9/oil field  = 4+

Ref: http://www.enotes.com/acid-fast-culture-reference/acid-fast-culture
http://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2553/1665/3/238101_app.pdf

วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

1,624 ความแตกต่างระหว่างไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ ( common cold vs flu )

                                      ไข้หวัด                                                 ไข้หวัดใหญ่  
ไข้                          ไม่สูงในผู้ใหญ่ เด็กอาจจะมีไข้                   ไข้สูง 38-40 องศา เป็นเวลา 3-4 วัน
ความรุนแรง   มักไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพที่รุนแรง       สามารถปัญหาที่รุนแรง เช่น ปอดอักเสบ                      
                                                                                                  หรือต้องนอน  รพ.
ระยะเวลาการเกิด   ค่อยๆ เกิดขึ้น                                            เกิดขึ้นได้เร็วภายใน 3-6 ชม.
ปวดศีรษะ                 พบน้อย                                                    ปวดศีรษะมาก
ปวดเมื่อยตามร่าง   เล็กน้อย                                                   พบบ่อย และปวดมาก
อ่อนแรง                    เล็กน้อย                                                   พบได้นาน 2-3 สัปดาห์
อ่อนเพลีย                ไม่พบหรือเล็กน้อย                                    พบมาก รุนแรงปานกลางถึงมาก
หนาวสั่น                   พบน้อย                                                    พบได้บ่อย
คัดจมูก                     พบบ่อย                                                    พบได้น้อย
จาม                          พบบ่อย                                                     พบเป็นบางครั้ง
เจ็บคอ                      พบบ่อย                                                     พบได้น้อย
ไอ แน่นหน้าอก       ไอไม่มาก ไอแห้งๆ                                   พบบ่อย บางครั้งเป็นรุนแรง
เป็นตามฤดูกาล      ไม่เป็นไปตามฤดูกาล                                เป็นไปตามฤดูกาลโดยเฉพาะฤดูหนาว
สาเหตุ       adenoviruses, coronaviruses or rhinoviruses               Influenza virus
โรคแทรกซ้อน ไซนัสอักเสบ และหูชั้นกลางอักเสบ                 หลอดลมอักเสบ และปอดบวม
การป้องกัน             ไม่มี                                                    ฉีดวัคซีน; amantadine or rimantadine (antiviral
                                                                                              drugs)
การรักษา                รักษาตามอาการ                                  Amantadine or rimantadine ภายใน 24-48
                                                                                               ชั่วโมงหลังเกิดอาการ

Ref: http://beid.ddc.moph.go.th/th_2011/content.php?items=15
http://www.diffen.com/difference/Common_Cold_vs_Flu

1,623 คู่มือการประเมินความเสี่ยงจากการทำงาน ของบุคลากรในโรงพยาบาล (ฉบับปรับปรุงแก้ไข พ.ศ. 2554)

โดยสำนักโรคจากกการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข


1,622 ชีววิทยา และการควบคุมแมลง ที่เป็นปัญหาสาธารณสุข

โดยฝ่ายชีววิทยาและนิเวศวิทยา กลุ่มกีฏวิทยาทางการแพทย์
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข
เนื้อหาประกอบด้วย
ยุงพาหะ (Mosquito Vectors)
ริ้นฝอยทราย (Sand flies)
แมลงสาบ (Cockroaches)
แมลงวัน (Flies)
เหาและโลน (Lice)
เรือด (Bed bugs) และมวนเพชฌฆาต (Assassin bugs)
ด้วงก้นกระดก (Rove beetles)
มด (Ants)
หมัด (Fleas)
เห็บ (Ticks) และไร (Mites)
สัตว์ขาข้อมีพิษ (Venomous arthropods)
โรคต่างๆ ที่นำโดยแมลง (Vector-borne diseases)
ลักษณะทางคลินิกที่เกิดจากสัตว์ขาข้อ (Clinical symptoms)
ปลวก (Termites)

Link download http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/applications/files/Insect%20Control%20rp4%2Bcover.pdf

1,621 แมลงพิษ (poisous insects)

โดยศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อและพาหะนำโรค 

มีแมลงหลายชนิดที่มีพิษโดยธรรมชาติในตัวของมันเอง บางครั้งมนุษย์ได้รับพิษจากแมลงกลุ่มนี้โดบังเอิญเมื่อไปสัมผัสแตะต้องแมลงเหล่านั้น หรือเมื่อแมลงนั้นดำเนินการป้องกันตัวเมื่อถูกรบกวน รวมทั้งอาจเกิดจากความเข้าใจผิดของมนุษย์เองที่นำแมลงมีพิษมาบริโภคอย่างไรก็ตามพิษของแมลงเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ต้องระวังและสมควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากสามารถทำให้เกิดอันตรายกับมนุษย์ได้ โดยอาจมีอาการแบบเพียงเล็กน้อย จนถึงขั้นร้ายแรงที่ทำให้ถึงกับเสียชีวิต อย่างไรก็ตามอาการดังกล่าวจะมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานหรืออาการแพ้ของแต่ละคน อายุ และบริเวณที่ได้รับสารพิษ รวมทั้งปริมาณสารพิษที่ได้รับ

Link download http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/applications/files/insect2.pdf