ยาแก้ไอมีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกันและจะมีผลต่อการเลือกใช้ยา จากการสืบค้นพบว่าในอ้างอิงของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้เรียบเรียงไว้ได้ดี จึงนำมาให้ศึกษาดังนี้ครับ
ยาแก้ไอสามารถแบ่งตามลักษณะการออกฤทธิ์ ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
ยาแก้ไอสามารถแบ่งตามลักษณะการออกฤทธิ์ ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
- ประเภทยากดการไอ
- ประเภทยากำจัดเสมหะ
1. ยากดการไอ มีฤทธิ์กดการไอ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1.1 ยาแก้ไอที่มีฤทธิ์ทำให้เสพติด (narcotic antitussive) เป็นยาแก้ไอที่มีฤทธิ์
กดอาการไอ ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เกิดการเสพติด ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ codeine, opium (ใน
opium tincture ซึ่งเตรียมเป็น camphorated opium tincture), hydrocodone เป็นต้น
1.2 ยาแก้ไอที่ไม่มีฤทธิ์ทำให้เสพติด (non narcotic antitussive) เป็นยาแก้ไอที่มีฤทธิ์กดการไอ
แต่ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะไม่เกิดการเสพติด ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ dextrometromethorphan, noscapine, benzonatate เป็นต้น
2. ยากำจัดเสมหะ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
2.1 ยาขับเสมหะ (expectorant) ออกฤทธิ์โดยกระตุ้นเซลบริเวณเยื่อบุทางเดินหายใจให้มีปริมาณของสารคัดหลั่งบริเวณหลอดลมเพิ่มขึ้นหรือออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทรับความรู้สึกที่กระเพาะอาหาร ทำให้เกิดกลไกการตอบสนองซึ่งส่งผลให้มีการหลั่งน้ำและเมือกเพิ่มขึ้น จึงช่วยให้เสมหะเหนียวน้อยลง และการหดตัวบริเวณกล้ามเนื้อทรวงอกและหน้าท้อง ทำให้เสมหะถูกดันออกมาได้ง่ายขึ้น ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ guaiphenesin, ammonium chloride, ipecacuanha, potassium iodide, hydriodic acid และ iodinated glycerol
2.2 ยาละลายเสมหะ (mucolytic) ออกฤทธิ์โดยทำลายแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลในเสมหะ ทำให้เสมหะมีลักษณะใสขึ้นจึงถูกขับออกจากหลอดลมได้ง่ายขึ้นหรือไอเพื่อกำจัดเสมหะออกไปจากหลอดลมได้ง่ายขึ้น ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ bromhexine, ambroxol, acetylcysteine และ methylcysteine
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น