หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

1,556. ข้อควรทราบเรื่องการแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

-ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำไม่รุนแรง ให้รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม
-ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำปานกลาง ให้รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต 30 กรัม  
ซึ่งอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม คือ กลูโคสเม็ด 3 เม็ด น้ำส้มคั้น 180 มล. น้ำอัดลม  180 มล. น้ำผึ้ง 3 ช้อนชา ขนมปัง 1 แผ่นสไลด์ นมสด 240 มล. ไอศกรีม 2 สคูป ข้าวต้มโจ็ก 1/2 ถ้วย กล้วย 1 ผล 
อาการมักดีขึ้นใน 15-20 นาที หลังได้รับอาหาร
-ส่วนในกรณีที่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำรุนแรง ให้การรักษารักษาด้วย สารละลายกลูโคส 50 % เข้าทางหลอดเลือดดำ หรือการให้ให้ฮอร์โมนกลูคากอน (สารละลายกลูโคส 50 % 50 มล. จะมีกลูโคส 25 กรัม)
*การรับประทานกลูโคส 15 กรัม จะช่วยให้ระดับกลูโคสในเลือดเพิ่มขึ้นประมาณ 38 มก./ดล. ภายในเวลา 20 นาที*

โดยความรุนแรงของภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด แบ่งตามอาการและอาการแสดงที่เกิดขึ้น และ
ความสามารถของผู้ป่วยในการช่วยเหลือตนเอง ได้แก่
1. ภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดระดับไม่รุนแรง (mild hypoglycemia) หมายถึง ผู้ป่วยมีระดับพลาสมากลูโคสต่ำ
แต่ไม่มีอาการหรือมีอาการออโตโนมิคซึ่งผู้ป่วยสามารถทำการแก้ไขได้ด้วยตัวเอง
2. ภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดระดับปานกลาง (moderate hypoglycemia) หมายถึง ผู้ป่วยมีระดับพลาสมา
กลูโคสต่ำ และมีอาการออโตโนมิคและอาการสมองขาดกลูโคสเกิดขึ้นเล็กน้อยหรือปานกลาง ซึ่งผู้ป่วย
สามารถทำการแก้ไขได้ด้วยตัวเอง
3. ภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดระดับรุนแรง (severe hypoglycemia) หมายถึง ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงจนไม่
สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเองและต้องอาศัยผู้อื่นช่วยเหลือ หรืออาการรุนแรงมาก เช่น ชัก หมดสติ 

อ้างอิงและอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น