หญิง 32 ปี underlying ASD with pulmonary hypertension, NYHA class II มาปรึกษาเรื่องอยากจะมีบุตร จะให้คำปรึกษาอย่างไรดีครับ ?
ขอขอบคุณสำหรับความเห็นครับ
ถ้าเฉพาะ ASD ซึ่งจะเป็นลักษณะของ left-right shunt จะอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำถึงปานกลางขึ้นอยู่กับขนาดของ shunt ถ้ามีการตั้งครรภ์โดยอัตราการเสียชีวิตในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำจะอยู่ประมาณร้อยละ 0 - 1 ส่วนในกลุ่มที่มีความเสี่ยงปานกลางจะอยู่ประมาณร้อยละ 5 - 15
สำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะ pulmonary artery hypertension ปัจจุบันได้แนะนำไม่ให้มีการตั้งครรภ์หรือให้ยุติการตั้งครรภ์ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก เนื่องจากการตั้งครรภ์ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของ hemodynamic อย่ างมากตั้งแต่ ช่วงตั้งครรภ์ ขณะคลอดและหลังคลอดบุตร มีการรายงานอัตราการเสียชีวิตของมารดาถึงร้อยละ 30 – 50 โดยเฉพาะถ้ามีภาวะ Eisenmenger ดังนั้นการอธิบายถึงวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพให้ผู้ป่วยหญิงที่มี PAH ที่สามารถมีบุตรได้จึงมีความสำคัญมาก แม้ว่าจะยังไม่มีความแน่ชัดถึงวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมที่สุดก็ตาม สำหรับยาคุมกำเนิดที่มีเอสโตรเจนเป็นส่วนประกอบอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด venous thromboembolism รูปแบบยาที่มีวางจำหน่ายในปัจจุบันที่มีเอสโตรเจนในขนาดต่ำและมียาต้านการแข็งตัวของเลือด (warfarin) เป็นส่ วนประกอบอยู่ ด้วยก็เป็นทางเลือกที่ เหมาะสม การผ่าตัดทำหมัน (surgical sterilization) และการใช้ห่วงคุมกำเนิด (barrier method) ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
Ref: http://www.thaipha.org/site_data/users/13/Pulmonary...pdf
Heart, cardiac diagnosis and treatment, Kuanprasert and SuKonthasarn
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555
1,614 ASD with pulmonary hypertension in pregnancy
ป้ายกำกับ:
Cardiology,
Interesting case,
Pregnancy
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ปกติ ASD ที่ยังไม่มีcomplication สามารถตั้งครรภ์ได้และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์แต่ที่ไม่ควรตั้งครรภ์คือ ASD with severe pulmonary hypertension เพราะจะมีความเสี่ยงสูงทั้งแม่และลูก ส่วน NYHA II
ตอบลบจะมีการจำกัดกิจวัตรประจำวันเพียงเล็กน้อย case นี้ต้องประเมินเรื่อง PH อีกทีไหมครับ (จาก GP)