จะคัดกรองโดยการทำ tuberculin skin test (TST) ปีละครั้งถ้าผลเป็นลบ ยกเว้นในรายที่เคยเป็นวัณโรคหรือ
เคยได้รับ isoniazid (INH) สำหรับป้องกันวัณโรคแล้ว ถือค่าเฉลี่ยเส้นผ่าศูนย์กลางของ TST มากกว่า
หรือเท่ากับ 5 mm. ขึ้นไปเป็นผลบวก ผู้ติดเชื้อที่ TST บวก จะต้องส่งฉายรังสีปอดทุกราย ถ้าไม่พบสิ่งผิด
ปกติ ประกอบกับคนไข้ไม่มีอาการที่บ่งบอกว่ามี active TB (ไข้ ไอเรื้อรัง นํ้าหนักลด) ให้ถือว่ามีวัณโรค
แฝง (Latent TB infection) ควรจะได้รับ INH prophylaxis เป็นเวลา 9 เดือน เพื่อป้องกันไม่ให้เป็น active
TB ขึ้นมาในอนาคต แม้ว่าการคัดกรองวัณโรคแฝงจะได้รับการแนะนำจากองค์การอนามัยโลกว่าควรจะ
ทำในผู้ติดเชื้อทุกราย แต่ยังไม่ปฏิบัติกันแพร่หลายในประเทศไทย
Ref: คู่มือพยาบาลสำหรับการปฏิบัติงานในคลินิกเอชไอวี ฉบับปรับปรุงใหม่ ปี 2553
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555
1,583. ข้อควรทราบเกี่ยวกับการคัดกรองวัณโรคแฝง (Latent TB infection, LTBI)
ป้ายกำกับ:
Infectious disease
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น