เนื่องจากบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อให้เป็นมาตรการหนึ่งในระบบยาที่จะทำให้เกิด ความประหยัดเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจของ ประเทศ ขจัดหรือลดความฟุ่มเฟือยและความสูญ เปล่าที่เกิดจากการใช้ยา โดยบัญชียาหลักแห่งชาติจะเป็นกรอบที่จะช่วยและ ส่งเสริมผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ทุกสาขาให้ใช้ยาอย่างเหมาะสม รวมทั้ง เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการด้านยา ของสถานพยาบาล รายการยาในบัญชียาสำหรับโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุขจึง ถูกจัดแบ่งออกเป็นบัญชีย่อย 5 บัญชี ได้แก่ บัญชี ก. ข. ค. ง. และ จ. ตามคุณลักษณะของยาแต่ละรายการ ความจำเป็น ต้องใช้ในสถานพยาบาลระดับต่างๆ ระดับความ รู้ความเชี่ยวชาญของแพทย์ที่สมควร เป็นผู้สั่งใช้ยา ตลอดจนระบบการติด ตามประเมินการสั่งใช้ยาที่ควรจัด ให้มีขึ้นสำหรับยาบางรายการ ทั้งนี้ ได้ กำหนดคำจำกัดความของบัญชีย่อยทั้งห้าบัญชีเพื่อให้เป็นแนวปฏิบัติในการบริหาร เวชภัณฑ์ของสถานพยาบาลไว้ ดังนี้
บัญชี ก. คือ รายการยาที่มีความจำเป็น สำหรับสถานพยาบาลทุกระดับ
บัญชี ข. คือ รายการยาที่อาจจำเป็น ต้องใช้ในสถานพยาบาลบางระดับ หรือจำกัด ข้อบ่งใช้สำหรับ อาการหรือโรคบางชนิด ที่ใช้ยาในบัญชีก. ไม่ได้ หรือไม่ได้ผล หรือเป็นยาที่ใช้แทนยา ในบัญชี ก. ชั่ว คราวในกรณีที่จัดหายาในบัญชี ก. นั้นไม่ได้
บัญชี ค. คือ รายการยาที่ต้องใช้โดยผู้ เชี่ยวชาญที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการของ สถานพยาบาลนั้นๆ เนื่องจาก เป็นยาที่มีอันตราย ถ้าใช้ ไม่ถูกต้องอาจเกิดพิษหรือเป็นอันตราย ต่อผู้ป่วยหรือเป็น สาเหตุให้เกิดเชื้อดื้อ ยาได้ง่าย
บัญชี ง. คือ รายการยาที่อาจมีความจำเป็นต้องใช้สำหรับช่วยชีวิตผู้ป่วยบางราย แต่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อ ผู้ป่วย หรือก่อปัญหาเชื้อดื้อยาที่ร้ายแรง และ/หรือมีราคาแพงมาก การสั่งใช้ยาซึ่งต้องให้สมเหตุผล เกิดความคุ้มค่าสมประโยชน์จะต้องอาศัยการตรวจวินิจฉัยและพิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการ ฝึกอบรม ฉะนั้น ยาในบัญชีดังกล่าวจะสั่งใช้ได้โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรคที่ได้รับการฝึกอบรมใน สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากสถานฝึกอบรม หรือได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติจากแพทยสภาหรือ ทันตแพทยสภาเท่านั้น และโรงพยาบาลจะต้องมีระบบการกำกับประเมิน และตรวจสอบการใช้ยา (ระบบ Drug Utilization Evaluation) โดยมีการเก็บข้อมูลการใช้เพื่อ ตรวจสอบในภายหลังได้
บัญชี จ. คือ รายการยาสำหรับใช้เฉพาะโครง การพิเศษของกระทรวง ทบวง กรม หรือเทียบเท่า ที่ได้รับ ความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ
Ref: http://www.fda.moph.go.th/edl/joke/index.htm
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ช่วยตรวจสอบบัญชียา รหัสยา -ฟองน้ำรองตัวผู้ป่วยแผลกดทับ เนื่องจากไม่มีรหัสยา และรายละเอียดในการขอเบิกเงิน จาก ญาติผู้ป่วย
ตอบลบผมเองก็ไม่ค่อยทราบในรายละเอียดเรื่องทางด้านนี้ พอดีนำเนื้อหามาลงเพื่อให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ได้ทราบเรื่องความสำคัญและการจัดแบ่งบัญชียาหลักแห่งชาติ
ตอบลบผมลองหาดูให้เบื่องต้นก็ยังไม่พบ รบกวนสอบถามจากในลิ้งค์ด้านล่างนี้น่าจะได้คำตอบนะครับ
ลิ้งค์ http://www.thaifda.com/ed2547/?pg=faq
ฟองน้ำรองตัวจัดเป็นยาหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ครับ หากไม่จัดเป็นยาก็ไม่มีรหัสยาครับ
ตอบลบพอดีเข้ามาเห็น กำลังจะซื้อให้แม่ใช้พอ รหัสอุปกร์ 9001 หมวดที่ 9 ลำดับที่ 9.0 เกี่ยกับผิวหนัง 9.0.1 ฟองน้ำรองตัวสำหรับผู้ป่วยหนัก หรือผู้ป่วยอัมพาก ข้อป่งช้ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต ไม่สามารถพลิกตัวยตนเองได้ อันละ ราคาไม่เกิน 600.- บาท ค่ะ (หนังสือของ กรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0417/ว 77 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2548)
ตอบลบครับ ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
ตอบลบ