เป็นลักษณะการให้เลือดเพื่อรักษาระดับความเข้มข้นของเลือดให้มากพอที่จะระงับการสร้างเลือด (suppression of erythropoiesis) ทำให้ผู้ป่วยหายจากภาวะโลหิตจาง ผู้ป่วยจะแข็งแรงไม่เหนื่อย การเจริญเติบโตดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี การดูดซึมธาตุเหล็กจากทางเดินอาหารจะลดลง ม้ามจะไม่โตหรือจะยุบลง จึงไม่จำเป็นต้องตัดม้าม นอกจากนี้ยังป้องกันมิให้ลักษณะของกระดูกใบหน้าเปลี่ยนแปลง
ข้อบ่งชี้
-ผู้ป่วยเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง คือ เป็น homozygous beta-thalassemia หรือ Beta-thalassemia/Hb E ชนิดรุนแรง ที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยใหม่
-อายุน้อยยังไม่มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงของกระดูกใบหน้า และม้ามยังไม่โต
การให้เลือดมากพอที่จะระงับการสร้างเลือด สามารถเริ่มได้โดย ให้ L-PRC 12-15 mL/kg ทุกสัปดาห์จนระดับฮีโมโกลบินสูงถึง 10 g/dL. เมื่อถึงระดับนี้แล้วให้ L-PRC ต่อไปอีกทุก 2 – 4 สัปดาห์ในขนาด 12-15 mL/kg เพื่อคุมให้ระดับฮีโมโกลบินก่อนให้เลือดทุกครั้ง (pre-transfusion Hb) ไม่ต่ำกว่า 10 g/dL ตลอดไป หากเมื่อใดระดับฮีโมโกลบินก่อนให้เลือดต่ำกว่า 10 g/dl ให้นัดมาให้เลือดถี่ขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องมาตรวจรักษาสม่ำเสมอปีละประมาณ 12-15 ครั้ง รวมใช้เลือดปีละประมาณ 180-225 mL/kg ต่อปี และจะมีธาตุเหล็กสะสม จำเป็นต้องได้รับยาขับธาตุเหล็กเมื่อมีข้อบ่งชี้ร่วมด้วย ผู้ป่วยจึงจะมีอายุยืนยาวขึ้นใกล้เคียงกับคนปกติในกรณีที่ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียรุนแรง
แต่ถ้ามิได้รับเลือดมากพอมาตั้งแต่ต้น มีม้ามโตมากแล้ว กระดูกขยายตัวแล้ว การเปลี่ยนมาให้เลือดแบบ high-transfusion อาจจำเป็นต้องใช้เลือดมากกว่าปกติ หรืออาจต้องตัดม้ามเสียก่อน จึงจะสำเร็จตามเป้าหมายของการรักษา
Ref: http://www.thalassemia.or.th/thal-cpg.pdf
การใช้โลหิตและส่วนประกอบโลหิตอย่างเหมาะสม ศูนย์บริการโลหิต สภากาชาดไทย
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น