ค่าปกติของ bowel sound อาจแตกต่างกันในแต่ละอ้างอิง แต่ก็ไม่แตกต่างกันมาก โดยพบว่าส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 5-30 หรือ 5-34 หรือ 5-35 ครั้ง/นาที โดยเสียงที่ผิดปกติได้แก่
1. เสียงดังตลอดเวลา หรือเกือบตลอดเวลา (increased หรือ hyperactive bowel sound) จะแสดงว่ากระเพาะลำไส้ทำงานมาก เช่น ท้องเสีย ภายหลังรับประทานอาหาร กระเพาะลำไส้อักเสบ กระเพาะลำไส้เริ่มอุดตัน เป็นต้น
2. เสียงท้องที่ได้ยินจำนวนลดลงหรือเบาลง (diminish หรือ hypoactive bowel sound)
อาจมี กระเพาะลำไส้ทำงานน้อยลง เช่น หลังผ่าตัดช่องท้อง, การอักเสบในช่องท้อง, กระเพาะลำไส้อุดตันระยะหลัง, การขาดเกลือแร่บางชนิด, ภาวะติดเชื้อรุนแรง หรือเชื้อโรคเข้ากระแสเลือด เป็นต้น
3. เสียงท้องที่แหลมชัด (high pitched bowel sound, tinkling bowel ) ซึ่งมักเกิดร่วมกับเสียงท้องที่ดังอยู่เกือบตลอดเวลา แต่เสียงที่แหลมชัดมักเกิดแทรกเป็นครั้งคราว อาจมีลำไส้อุดตันในระยะแรก
4. การไม่มีเสียงท้อง (absent bowel sounds) โดยต้องฟังเป็นเวลาอย่างน้อย 3 นาที บางอ้างอิงใช้ที่ 5 นาที สาเหตุเช่น ภายหลังผ่าตัดช่องท้อง โดยเฉพาะการผ่าตัดที่ใช้วิธีการดมยาสลบ การอุดตันของลำใส้ด้วยสาเหตุต่างๆ ในระยะหลัง ภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการหยุดการบีบตัวของลำใส้ เช่นความผิดปกติของระบบประสาท การมีโปแตสเซียมในเลือดต่ำ การขาดเลือดจนเกิดการตายของลำใส้ เป็นต้น
โดยการฟังให้ฟังทั้ง 4 quadrant แต่ตำแหน่งที่ฟังได้ชัดเจนที่สุดคือบริเวณขวาล่างซึ่งเป็นตำแหน่งของ ileo-cecal เสียงที่ได้ยินเกิดจากการผสมของอากาศและน้ำระหว่างมีการบีบตัว (peristaltic movement) เสียงจะดังมากที่สุดก่อนมื้ออาหาร หรือที่เรียกว่ากระเพาะร้องตอนหิว
Ref:
http://www.doctor.or.th/node/6582
http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003137.htm
http://www.patient.co.uk/doctor/Abdominal-Examination.htm
http://www.buzzle.com/articles/bowel-sounds.html
http://www.bettermedicine.com/books/alarming-signs-and-symptoms-lippincott-manual-of-nursing-practice-series/bowel-sounds-absent
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ขอบคุณครับ
ตอบลบ** สาระน่ารู้ **