อาจจะสงสัยว่า ในกรณีที่ไม่ชักอีก ทำไมต้องสองปีจึงจะหยุดยากันชักได้? มีความเป็นมาหรือข้อมูลสนับสนุนอย่างไร?
การให้ยากันชักเป็นเวลานานก็มีผลข้างเคียงได้มากมาย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่แนะนำให้หยุดยากันชักหลังจากไม่มีอาการชักแล้ว 2 ปี จาก meta-analysis ที่เปรียบเทียบอัตราการกลับมาชักซ้ำในผู้ป่วยที่ไม่ชักนานกว่า 2 ปี และที่น้อยกว่า 2 ปี พบว่าอัตราการชักซ้ำจะสูงในกรณีที่หยุดยาเร็วกว่า 2 ปี โดย odds ratio of 1.32 (95% confidence interval, 1.02-1.70) ซึ่งยังเป็นการยืนยันการศึกษาที่ผ่านๆ มาด้วย
โดยการจะหยุดยายังจะต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆของผู้ป่วยแต่ละคน เช่น สาเหตุของการชัก ความผิดปกติของระบบประสาท อายุที่เริ่มเป็น ชนิดของการชัก ความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมอง ระยะเวลาที่เป็นและความถี่ของการชักก่อนการรักษา เมื่อจะหยุดยากันชักจะต้องค่อยๆหยุดยา โดยใช้เวลาลดยาวนานประมาณ 6-12 เดือน
ผู้รู้ด้านโรคลมชักกล่าวว่า “การเริ่มยากันชักนั้นไม่ยาก แต่การหยุดยากันชักนั้นยากกว่า”
Ref: http://www.mayoclinicproceedings.com/content/77/12/1378.full.pdf
http://www.bangkokhealth.com/index.php/Pediatric/3708-benign-rolandic-epilepsy.html
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น