การจะแยกว่าผู้ป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2 บางครั้งไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะถ้าอายุก้ำกึ่ง การแยกคงต้องอาศัยข้อมูลหลายๆ ด้านมาประกอบกันเพื่อดูว่าข้อมูลเป็นไปในทางใดมากที่สุด รวมถึงอาจต้องนำผลการครวจทางห้องปฏิบัติการเข้ามาใช้ร่วมด้วย
-เบาหวานชนิดที่ 1 มักจะมีอายุน้อยกว่า 30 ปี บางอ้างอิงใช้ช่วงอายุ 5-25 ปี แต่ก็สามารถเป็นได้กับทุกอายุ การเกิดอาการมักรวดเร็วใช้เวลาเป็นสัปดาห์ อาจมีคนในครอบครัวเช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นเบาหวานขนิดที่ 1 มาก่อน อาจตรวจพบสารคีโตนในปัสสาวะ หรือภาวะเลือดเป็นกรดจากสารคีโตน การตรวจทางห้องปฏิบัติการพบระดับ C-peptide ในเลือดต่ำมาก และ/หรือตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อส่วนของ islet cell ได้แก่ Anti-GAD, ICA, IA-2 การรักษามักต้องใช้อินซูลินเป็นหลัก
-ส่วนผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยประมาณ 95% มักมีน้ำหนักเกิน รูปร่างท้วม อาจไม่มีอาการผิดปกติของเบาหวานหรือมีอาการของเบาหวานทั่วไป อาการจะค่อยเป็นค่อยไปใช้เวลาเป็นปี มักมีประวัติโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง อาจพบภาวะที่ดื้อต่ออินซูลิน เช่น acanthosis nigicans, polycystic ovarian syndrome การรักษาสามารถให้การควบคุมด้วยอาหาร การออกกำลังกาย การลดน้ำหนัก การใช้ยารับประทานหรืออาจจะต้องฉีดอินซูลินร่วมด้วย
Ref: หลักการของแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2554
http://www.diffen.com/difference/Type_1_Diabetes_vs_Type_2_Diabetes
http://www.medicinenet.com/diabetes_mellitus/page3.htm
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น