แนวทางการดูแลรักษาโรคต่างๆ ในภาวะอุทกภัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นแนวทางประกอบการพิจารณาการดูแลรักษาโรคต่างๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญและแพทย์ที่ดำเนินงานในภาคสนาม เห็นพ้องในความจำเป็น คำแนะนำของแนวทางการดูแลรักษาโรคต่างๆ เหล่านี้ยึดแนวทางความเหมาะสมของพื้นที่ในการดำเนินงานในภาวะฉุกเฉินซึ่งมีบุคลากร ทางการ แพทย์ ศักยภาพในการวินิจฉัยโรคและยาเวชภัณฑ์ต่างๆ ที่มีอย่างจำกัดทั้งปริมาณและชนิด ของยาในการ เลือกใช้ ทั้งนี้มีเป้าหมายหลักในการดูแลรักษาโรคต่างๆ เพื่อลดความสูญเสียต่อชีวิต ลดความรุนแรงของโรคและการแพร่กระจายของโรค หรือการดูแลรักษาต่อเนื่องที่มีประสิทธิภาพของผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังต่างๆ ให้ได้รับการรักษาต่อเนื่องที่ดีที่สุด และเหมาะสมที่สุดในภาวะอุทกภัย
แนวทางการดูแลรักษาโรคครอบคลุมโรคที่พบได้บ่อยดังต่อไปนี้
1. โรคผิวหนังที่พบบ่อยในภาวะอุทกภัย (โรคน้ากัดเท้า และผื่นคัน)
2. โรคติดต่อของระบบต่างๆที่พบบ่อยในภาวะอุทกภัย
(1) โรคตาแดง
(2) โรคทางเดินหายใจ
(3) โรคอุจจาระร่วง
(4) โรคฉี่หนู (Leptospirosis)
(5) โรคไข้เลือดออก (Dengue fever)
(6) โรคติดเชื้อทางผิวหนังและ เนื้อเยื่อ (นอกจากโรคน้ากัดเท้า)
และยังมีเนื้อหาเรื่อง
3. โรคที่เกิดจากสัตว์กัดที่พบบ่อยในภาวะอุทกภัย
(1) จากสัตว์ไม่มีพิษ; ตะขาบ, ปลิง, ทาก, งูไม่มีพิษ, จรเข้, .ฯลฯ
(2) จากสัตว์มีพิษ; งูพิษ, ผึ้ง, ฯลฯ
4. การดูแลบาดแผลที่ปนเปื้อนน้าสกปรก
5. การดูแลผู้ที่ถูกไฟดูด-ไฟช็อค
6. การดูแลผู้สาลักน้ำหรือจมน้า
Link download: http://www.k4flood.net/newweb/attachments/article/30/CPG%20flooding%20for%20moble%20team%2011%20nov%2011.pdf
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น