หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

1,466. การตรวจ ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (muscle tone)

อาจจะสงสัยว่าการตรวจ ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (muscle tone) จะมีวิธีการตรวจอย่างไร แปลผลอย่างไร ลองมาอ่านดูตามนี้นะครับ...
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (muscle tone) เป็นการหดเกร็งของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผู้ป่วยไม่ได้มีการเคลื่อนไหวซึ่งเกิดขึ้นโดยต่อเนื่องหรือเป็นความต้านทานต่อการดีงหรือเหยียดออกอย่างรวดเร็วในช่วงขณะพัก ความตึงตัวของกล้ามเนื้อช่วยให้ร่างกายอยู่ในท่าทางต่างๆ ได้ และจะลดลงในช่วงนอนหลับระยะ REM
ซึ่งการตรวจกระทำเพื่อประเมินความต้านต่อการเคลื่อนไหวแบบ passive (คือการที่ผู้ป่วยไม่ได้ออกแรงเคลื่อนไหวเอง) ขณะมีการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งกล้ามเนื้อผู้ป่วยก็มักจะไม่หย่อนในระหว่างการตรวจ ดังนั้นจึงต้องหันเหความสนใจของผู้ป่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวเอง (active movement) น้อยที่สุด
การตรวจที่ระยางค์ส่วนบนโดยการจับมือผู้ป่วยพลิกคว่ำและหงายแขนและการงอข้อมือเข้าและออกอย่างรวดเร็ว การตรวจระยางค์ส่วนล่างทำโดยขณะผู้ป่วยนอนหงาย ให้จับที่ด้านข้างของเข่าและยกขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้าความตึงตัวของกล้ามเนื้อเป็นปกติข้อเท้าจะลากไปตามผิวหน้าของเตียงก่อนที่จะยกตั้งขึ้น แต่ถ้าที่ความตึงตัวของกล้ามเนื้อมากขึ้นจะพบว่ามีการยกของส้นเท้าขึ้นจากเตียงทันที
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อมากขึ้นอาจแยกได้ เช่น
-Spaticity คือการที่ความต้านทานเปลี่ยนแปลงตามทิศทางและความเร็วของการเคลื่อนไหว เป็นความผิดปกติของ corticospinal tract disaes 
-Rigidity จะมีความต้านทานจะเท่าๆกันโดยตลอดในทุกทิศทางของการเคลื่อนไหว เป็นความผิดปกติของ extrapiramidal tract
-Paratonia พบมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงของความต้านทาน เป็นความผิดปกติของ frontal lobe pathway หรือ เป็นความยากโดยปกติของการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อ
-Cogwheel rigidity จะพบว่าในขณะจับให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวจะเกิดความต้านแบบกระตุกเป็นจังหวะ(jerky) ซึ่งพบได้ในการเคลื่อนไหวแบบ Parkinsoism
ส่วนการลดลงของความตึงตัวของกล้ามเนื้อสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก lower motor neuron หรือ peripheral nerve disorder

Ref: Harrison's Principles of Internal Medicine 18 th Edition
http://en.wikipedia.org/wiki/Muscle_tone
http://neurologycoffecup.wordpress.com/2008/08/31/interpretation-of-muscle-tone/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น