อาจจะสงสัยว่าการให้ยา beta blockers สามารถใช้รักษา heart failure ได้อย่างไร? ใช้ได้ในกรณีใดบ้างและจะเริ่มให้ได้เมื่อไร?
กลไกของ beta blockers จะไปลดผลของระบบประสาทสิมพาเทติค (sympathetic nervous system) ที่ส่งผลเสียต่อหัวใจ ได้แก่ ภาวะการขาดเลือด, การเกิด arrhythmias, การเกิด remodeling และภาวะที่เป็นพิษต่อ myocytes และยายังมีผลยับยั้ง renin-angiotensin system (RAS) โดยลดการหลั่ง renin จากไต
การใช้ยา beta blocker ในระยะยาวจึงช่วยลดอาการของ heart failure ได้ การใช้ beta-blockers อย่างต่อเนื่องมีผลทำให้ left ventricular ejection fraction เพิ่มขึ้น, ลด left ventricular volumes และ myocardial mass, ปรับปรุง left ventricular geometry และ ลดการเกิด mitral regurgitation (การที่หัวใจขยายขนาด และมีรูปเป็นทรงกลมมากขึ้นจะส่งผลให้ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท) การที่ beta blockers ทำให้โครงสร้างซึ่งเกิด cardiac remodeling ไปแล้ว กลับคืนสู่ภาวะที่ใกล้เคียงปกติ เรียกว่า “reverse remodeling”
ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาทางคลินิกยืนยันว่า ผู้ป่วย congestive heart failure ทุกราย ไม่ว่าจะอยู่ใน NHYA class ใด สมควรได้รับ beta-blockers ร่วมกับ ACEIs ในกรณีที่ไม่มีข้อห้ามต่อการใช้ โดยผู้ป่วย acutely decompensated heart failure และผู้ป่วยที่ยังต้องรับการรักษาด้วย intravenous inotropics ยังไม่ควรได้รับ beta-blockers จนกระทั่งผู้ป่วยจะกลับคืนสู่ compensated state ที่ควบคุมได้ด้วยยาชนิดรับประทาน ส่วนชนิดของยาและขนาดยาที่เลือกใช้ขอให้อ่านศึกษาต่อเพิ่มตามในลิ้งค์นะครับ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น