Syndrome of Inappropriate Antidiuretic Hormone (SIADH) มีลักษณะของการหลั่ง แอนติไดยูเรติก ฮอร์โมน (antidiuretic hormone, ADH) ออกมามากผิดปกติ โดยทำให้เกิดการดูดกลับน้ำที่ท่อไตมากขึ้นเกิดภาวะที่มีการลดความเข้มข้นของสารน้ำในร่างกายและเป็นการเพิ่มปริมาณสารน้ำที่อยู่นอกเซล โดยปัสสาวะจะมีออสโมลลาริตีสูงขึ้น การวินิจฉัยทำโดยการตัดโรคอื่นๆ ที่ไม่เหมือนออกไปก่อน (diagnosis of exclusion) ร่วมกับการดูเกณฑ์การวินิจฉัย มีเกณฑ์การวินิจฉัยดังนี้ครับ 1. โซเดียมในเลือดต่ำร่วมกับมีออสโมลลาริตีในเลือดตํ่าด้วย (Hypotonic hyponatremia หรือ true hyponatremia) |
2. มีออสโมลลาริตีในในปัสสาวะสูง (Urine osmolality) > 100 mOsm/kg (100 mmol/kg) |
3.ไม่มีการสูญเสียสารน้ำจากภายนอกเซล 4.ไม่มีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์และต่อมหมวกไต 5. การทำงานของหัวใจ ตับและไตเป็นปกติ นอกเหนือจากนั้นอาจพบว่าความเข้มข้นของเกลือโซเดียมในปัสสาวะสูงมากกว่า 20 mmol/ลิตร และออสโมลลาริตีในปัสสาวะสูงไม่ได้สัดส่วนกับออสโมลลาริตีในเลือดที่ตํ่า โดยอัตราส่วนของออสโมลลาริตีในปัสสาวะเทียบกับออสโมลลาริตีในเลือดมักมีค่าสูงกว่า 1.6 หมายเหตุ SIADH จะมี euvolemia หรือมี water retention ก็ได้ แต่จะไม่มี hypovolemia เวลามี water retention น้ำที่เกิน จะเข้าไปอยู่ในเซลล์ 2/3 และอยู่นอกเซลล์เพียง 1/3 (ECF 20% body weight = ISF 16 + plasma 4) ดังนั้น น้ำที่เกินอยู่ในหลอดเลือดไม่มาก แต่อยู่ภายในเซลล์และในเนื้อเยื่อต่างๆมากกว่า Ref; |
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
1,461. เกณฑ์การวินิจฉัยและข้อควรรู้เกี่ยวกับ SIADH
ป้ายกำกับ:
Nephrology
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น