ถ้าให้ออกซิเจนความเข้มข้น 100% ที่ระดับน้ำทะเลเป็นเวลานานเกิน 24 ชม.จะเริ่มมีอาการแสดงทางคลินิกของภาวะออกซิเจนเป็นพิษ (oxygen toxicity) ระดับออกซิเจนที่มีความปลอดภัยสามารถให้นานได้มากกว่า 1 เดิอน คือที่ระดับความเข้มข้นไม่เกิน 40 % และถ้าเกิน 70 % เป็นเวลาหลายวันหรือเป็นสัปดาห์ ก็จะมีความเสี่ยงจากภาวะออกซิเจนเป็นพิษ อธิบายจากการที่ออกซิเจนเปลี่ยนเป็น free radicle 2 ตัว คือ superoxide และ hydroxyl ion ซึ่งทั้งสองตัวมีฤทธ์ทำลายผนังเซล โดยเซลที่ถูกทำลายง่ายที่สุดคือ endothelial cell ของปอดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง pneumocyte type 1 รองลงมาคือ pneumocyte type 2 ส่วน epithelial cell จะถูกทำลายเป็นอันดับสุดท้าย ผู้ป่วยอาจจะมีอาการ ไอ เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย pulmonary edema
ส่วนการให้ความชื้น ใน low flow ถ้ามากกว่า 2 L/M ควรจะให้ความชื้นในออกซิเจน เพื่อช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกาย , ป้องกันการเสียน้ำจากร่างกาย, รักษาอนามัยของหลอดลม ( bronchial hygiene ), mucocilialy function ทำงานได้ดี ลดการคั่งค้างของเสมหะ, ทำให้การแลกเปลี่ยนได้ตามปกติ, ลดโอกาสการติดเชื้อ
Ref:: การดูแลรักษษโรคระบบทางเดินหายใจในผู้ใหญ่ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
elearning.medicine.swu.ac.th/anest/Oxygen%20%20Therapy.ppt
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น