หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

1,451. Oxygen therapy in COPD exacerbation

อาจจะสงสัยว่าในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่กำลังมีอาการกำเริบเฉียบพลัน ควรจะให้ออกซิเจนแบบใด ขนาดใดจึงจะเหมาะสม?
จากการสืบค้นพบว่าผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกำเริบเฉียบพลัน มักจะมีการขาดออกซิเจนด้วยเสมอ การให้ออกซิเจนสามารถให้แบบ nasal cannula หรือ venturi mask ก็ได้ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์การให้ออกซิเจน ที่สามารถควบคุมออกซิเจนปริมาณน้อยๆ ได้โดยละเอียด ซึ่งเป้าหมายคือ ให้ PaO2 มากกว่า 60 mmHg หรือ O2 sat 90% (บางแนวทางใช้ที่  88-92%)  การให้ออกซิเจนต้องการ FiO2 ที่ไม่สูงมากนัก ( ไม่ควรเกิน 28% ) ซึ่งการให้สามารถเริ่มจากการให้ nasal canula โดยจะให้ 2-3 ลิตร/นาที (บางแนวทาง 1-3 ลิตร/นาที บางแนวทางใช้ 2 ลิตร/นาที) หรือ venturi  mask ให้ประมาณ 4 ลิตร/นาที แล้วตรวจเช็คดูว่าคนไข้ได้ออกซิเจนพอหรือไม่ ในกรณีที่มีปอดอักเสบร่วมด้วยอาจจะต้องการ FiO2 สูงขึ้น เพราะมี shunt  แต่การให้ต้องระวังอย่าให้มากเกินไปเนื่องจากอาจจะทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซต์ลดลง จะกด hypoxic drive เนื่องจาก COPD ที่มีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์เรื้อรัง การหายใจจะถูกกระตุ้นด้วยภาวะ hypoxemia  ถ้าภาวะ hypoxia ลดลงจะทำให้ผู้ป่วยหายใจช้าลง เกิดการคั่งของ CO2 เกิดภาวะ respiratory acidosis และ CO2 narcosis หรืออาจจะทำให้เกิดการหยุดหายใจได้ และบางอ้างอิงเขียนไว้ว่าว่าเมื่อระดับออกซิเจนในเลือดสูงขึ้น โดย PaO2 มากกว่า 60 mmHg จะทำให้ศูนย์การหายใจไม่ถูกกระตุ้น อาจทำให้หายใจช้าลงหรือหยุดหายใจได้
และถ้าอาการกำเริบรุนแรงมากไม่ดีขึ้นพิจารณา  intubation หรือใส่ positive-pressure mask ventilation (เช่น continuous positive airway pressure [CPAP]) ได้
หลักการสำคัญคือเพื่อให้ได้ออกซิเจนเพียงพอ แต่ไม่มากจนกรดศูนย์การหายใจด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ในสถานบริการที่ตรวจ ABG ได้ควรมีการติดตามเป็นระยะๆ ดังนั้นการให้ออก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น