น้ำตาลสูงในภาวะที่อดอาหาร (fasting hyperglycemia) อาจเกิดได้จาก
1. Dawn phenomenon เป็นภาวะน้ำตาลสูงตอนเช้าโดยไม่มีภาวะน้ำตามต่ำเกิดขึ้นนำมาก่อน (ซึ่ง dawn แปลว่ารุ่งเช้า) เกิดจากการมีระดับอินซูลินในเลือดน้อย และ/หรือการที่ตับมีการสร้างกลููโคสออกมามาก (ซึ่งก็พบในผู้ป่วยเบาหวานอยู่แล้ว)
2. ที่พบน้อยกว่าคือ Somogyi effect ( Somogyi phenomenon) ซึ่งเรียกตามชื่อของผู้พบเป็นคนแรกหรืออาจเรียกว่าเป็น rebound hyperglycemia คือเป็นภาวะที่น้ำตาลสูงมากตามหลังการมีภาวะน้ำตาลต่ำ สาเหตุมักเนื่องจากการมีระดับอินซูลินในเลือดที่สูงเกินไปในตอนกลางคืน(หรือขนาดยาชนิดรับประทานที่สูงเกินไปก็อาจทำให้เกิดได้)
ซึ่งภาวะทั้งสองก็มีเรื่องของ counterregulatory hormone ( ได้แก่ growth hormone, cortisol และ catecholamines) เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยใน dawn phenomenon อาจจะเกิดจากการมี counterregulatory hormone ซึ่งทำงานตอบสนองเป็นปกติของร่างกายอยู่แล้วขณะที่อินซูลินไม่เพียงพอจึงเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ส่วน Somogyi effect จะมี counterregulatory มาตอบสนองต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำทำให้มีน้ำตาลสูงตามมา
สามารถแยกและแก้ไขภาวะทั้งสองโดย
-การเจาะตรวจน้ำตาลช่วงตี 2-3 โดยอาจจะต้องทำหลายวันหน่อยเพื่อความแน่นอน ถ้ามีน้ำตามต่ำน่าจะเป็น Somogyi effect แก้ไขโดยการลดขนาดอินซูลินมื้อเย็นลง
-ถ้าระดับน้ำตาลปกติน่าจะเป็น dawn phenomenon แก้ไขโดยการเลื่อนอินซูลินมาเป็นก่อนนอน เช่นประมาณ 4 ทุ่มเพื่อให้ยาออกฤทธิ์ตอนน้ำตาลสูงคือในช่วงใกล้เช้าพอดี
-แต่ถ้าระดับสูงน่าจะเกิดจากขนาดอินซูลินไม่เพียงพอแก้ไขโดยการเพิ่มขาดยา
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ดีเยี่ยม
ตอบลบ