ในการรักษาผู้ป่วย acute atrial fibrillation อาจจะสงสัยว่าเมื่อไรจึงจะทำ cardioversion มีวิธีการอย่างไร มีข้อห้ามและข้อควรระวังอย่างไร?
ในระยะเฉียบพลัน ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและมีการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตไม่คงที่ (เช่น ผู้ป่วยเกิดภาวะ hypotension, heart failure หรือ angina) ต้องหยุดภาวะ atrial fibrillation ทันที โดยการทำ direct-current cardioversion ใช้ synchronized, biphasicที่ 200 จูล, ถ้าไม่ตอบสนองเพิ่มเป็น 300 จูล และเพิ่มได้สูงสุดที่ 360 จูล
ส่วนผู้ป่วยที่มีการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตคงที่การรักษาโดยควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจห้องล่างให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมปลอดภัย โดยอัตราการเต้นของหัวใจห้องล่างควรน้อยกว่า 100 ครั้งต่อนาที หรือลดลงประมาณร้อยละ 20 ของอัตราการเต้นเดิม และถ้าจะทำ elective cardioversion ควรทำหลังจากให้ warfarin ไปแล้ว 3 สัปดาห์ และให้ต่อหลังจากทำไปแล้วอีก 4 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด(thrombus) อัตราความสำเร็จสูงประมาณ 90 % โดยผู้ที่ประสบการณ์และเครื่องมือที่เหมาะสม หรืออาจจะทำ transesophageal echocardiography ถ้าไม่มีลิ่มเลือดก็สามารถทำได้เลย ถ้าพบมีลิ่มเลือด ให้เลื่อนการทำจนให้ยา warfarin ครบ 3 สัปดาห์แล้ว
การให้ amiodarone หรือ procainamide โดยการรับประทานหรือทางหลอดเลือดดำประสบความสำเร็จได้พอสมควร การให้ ibutilide ทางหลอดเลือดดำอาจจะได้ผลมากกว่าและเลือกใช้ร่วมกับการทำ direct-current cardioversion
http://www.pha.nu.ac.th/apirukw/ambu/uploads/E831B_Handout_Pharmacotherapeutics_ARH_50.pdf
http://www.aafp.org/afp/2002/0715/p249.html
Harrison's Principles of Internal Medicine 18 th Edition
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น