หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554

1,385. ข้อบ่งชี้และข้อห้ามในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ

ทีม PCT ให้ช่วยหาแนวทางการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน เพื่อประกอบการดูแลและส่งต่อผู้ป่วยในระบบ Fast track จึงพบดังนี้
ข้อมูลจากสถาบันประสาทวิทยา

ข้อบ่งชี้
1. ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันภายใน 3 ชั่วโมง (ปัจจุบันใช้ที่ 4.5 ชั่วโมง)
2. อายุมากกว่า 18 ปี
3. มีอาการทางระบบประสาทที่สามารถวัดได้โดยใช้ NIHSS
4. ผล CT scan ของสมองเบื้องต้นไม่พบภาวะเลือดออกหรือสมองบวม
5. ผู้ป่วยหรือญาติเข้าใจประโยชน์และโทษที่จะเกิดขึ้นจากการรักษา
และยินยอมให้การรักษา โดยใช้ยาละลายลิ่มเลือด
ข้อห้าม
1. มีอาการของโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันที่ไม่ทราบเวลาที่เริ่มเป็นอย่างชัดเจน หรือมีอาการภายหลังตื่นนอน
2. มีอาการของโรคเลือดออกใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง (subarachnoid hemorrhage)
3. อาการทางระบบประสาทดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
4. มีอาการทางระบบประสาทอย่างรุนแรง (NIHSS > 18)
5. ซึมหรือหมดสติ หรือ global aphasia
6. มีอาการชักเมื่อเริ่มมีอาการโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตันครั้งนี้
7. ความดันโลหิตในช่วงก่อนให้การรักษาสูง (SBP ≥ 185 mmHg, DBP ≥ 110 mmHg)
8. มีประวัติเลือดออกในสมองมาก่อน
9. มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือมีบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงภายใน 3 เดือน
10. ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด (heparin หรือ warfarin) ภายใน 48 ชั่วโมงหรือ มีค่า partial-thrombo-plastin time ผิดปกติ หรือมีค่า prothrombin time มากกว่า 15 วินาที หรือมีค่า International normalized ratio (INR) มากกว่า 1.7
11. มีปริมาณเกล็ดเลือดน้อยกว่า 100,000/mm3
12. มีประวัติผ่าตัดใหญ่ภายใน 14 วัน
13. มีเลือดออกในทางเดินอาหารหรือทางเดินปัสสาวะภายใน 21 วัน
14. มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 50 mg/dl หรือสูงกว่า 400 mg/dl
15. มีประวัติ myocardial infarction ภายใน 3 เดือน
16. มีการเจาะเลือดแดงในตำแหน่งที่ไม่สามารถกดห้ามเลือดได้ หรือ Lumbar punctureภายใน 7 วัน
17. พบมีเลือดออกหรือมีการบาดเจ็บ (กระดูกหัก) จากการตรวจร่างกาย
18. ผล CT brain พบเนื้อสมองตายมากกว่า 1 กลีบ (hypodensity > 1/3 cerebral hemisphere) หรือพบการเปลี่ยนแปลงในระยะแรกของหลอดเลือดสมองตีบขนาดใหญ่ เช่น พบสมองบวม mass effect, sulcal effacement
19. ตั้งครรภ์


Ref: http://pni.go.th/pnigoth/wp-content/plugins/download-monitor/download.php?id=19

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น