วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

1,397. ข้อคิดเรื่องการให้อิมมูโนโกลบุลินป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (rabies immune globulin, RIG)

ในโรงพยาบาลต่างๆ มักประสบปัญหาการมีอิมมูโนโกลบุลินป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (rabies immune globulin, RIG) ไม่เพียงพอเมื่อพบผู้ป่วยที่ถูกสุนัขกัดมีบาดแผลแบบ 3 (category 3) โดยเฉพาะชนิดที่ทำมาจากมนุษย์ ในกรณีที่ทดสอบทางผิวหนังแล้วให้ผลบวก ซึ่งต้องระวังการแพ้จากการให้อิมมูโนโกลบุลินที่ทำจากม้า
และการฉีดวัคซีนใต้ผิวหนังแบบ 8 จุด ถึงแม้ว่าการฉีดแบบนี้จะทำให้ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นสูงกว่าการฉีดด้วยวิธีอื่นภายใน 14 วัน แต่ระดับภูมิคุ้มกันนั้นยังไม่พอในการป้องกันโรคในช่วง 7 วันแรกหลังฉีด ดังนั้นในผู้ป่วยที่มีบาดแผลแบบ 3 จึงยังจำเป็นต้องให้อิมมูโนโกลบุลิน ลองมาอ่านบทความนี้สักนิดเพื่อเป็นข้อคิดนะครับ...

การศึกษาในปี พ.ศ. 2541 พบว่าโรงพยาบาลรัฐ 499 แห่งทั่วประเทศไทยประสบปัญหา ร้อยละ 36 ไม่มีอิมมูโนโกลบุลิน ร้อยละ 56.9 ขาดแคลนอิมมูโนโกลบุลินเป็นครั้งคราว
  จากประสบการณ์ที่สถานเสาวภาและประเทศอื่นๆพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจากที่อื่นมักไม่ได้รับอิมมูโนโกลบุลินร่วมกับวัคซีนแม้ว่าจะมีข้อบ่งชี้ตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ซึ่งอาจเนื่องจากไม่มีอิมมูโนโกลบุลินให้แก่ผู้ป่วย แพทย์ผู้รักษากลัวผลข้างเคียงที่เกิดจากการให้อิมมูโนโกลบุลินที่ทำจากม้า อิมมูโนโกลบุลินราคาแพง (โดยเฉพาะทำจากมนุษย์: human RIG) ฯลฯ ดังนั้นการใช้อิมมูโนโกลบุลินที่ทำจากม้า (equine rabies immune globulin:ERIG) ก็ยังเป็นหลักในการให้รักษา (ราคาถูกกว่า) ปัจจุบันมีการทำ ERIG เป็นแบบที่ทำให้บริสุทธิ์มากขึ้น (purified ERIG) ซึ่งจะลดผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ crude ERIG ในอดีต


Ref: จากบทความวิชาการ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น