หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

1,396. Review of current guidelines on the care of postherpetic neuralgia

จาก Postgraduate Medicine
(The rapid peer-Reviewed journal fao physician)
โดยCharles E. Argoff, MD

พบว่าผู้ป่วยส่วนน้อยซึ่งมีเป็นงูสวัดเฉียบพลันที่มีอาการปวดเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าประมาณ 10% จะเกิดปวดตามแนวเส้นประสาทหลังจากที่โรคงูสวัดหาย (postherpetic neuralgia, PHN) ซึ่งนิยามคือการรปวดที่ยังยังคงอยู่นานกว่า 4 เดือนหลังจากการเกิดรอยโรค ผู้ป่วยสู.อายุจะมีความเสี่ยงมากขึ้น พยาธิสรีรวิทยาของโรคมีความซับซ้อน สามารถเกิดกับทั้งระบบประส่วนกลางและส่วนปลาย ซึ่งความซับซ้อนนี้จะเป็นโอกาสให้สามารถใช้ยาเพื่อลดความปวดได้หลายอย่าง หลายกลไก การใช้ยาร่วมกันจะได้ผลดีกว่าการใช้ยาตัวเดียว
แนวทางระดับชาติของสหรัฐได้ทบทวนและประเมินโดยใช้หลักฐานข้อมูลทางการแพทย์ พบว่ายากลุ่มแรกที่ใช้ในการรักษาได้แก่ tricyclic antidepressants, gabapentin, pregabalin และ topical lidocaine 5% patch
ส่วน Opioids, tramadol, capsaicin cream และ capsaicin 8% patch ได้รับคำแนะนำเป็นทั้งทางเลือกที่สองหรือสามซึ่งแตกต่างกันในแต่ละแนวทาง การรักษาชี้ให้เห็นว่ายาที่ใช้ในการรักษาความเจ็บปวดของระบบประสาทชนิดอื่นๆ ก็มีประสิทธฺภาพ เช่น serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors, ยากันชัก carbamazepine และ valproic acid และ botulinum toxin การทำหัตถการ เช่น sympathetic blockade, intrathecal steroids และ implantable spinal cord stimulators กำลังมีการศึกษาโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีที่ไม่ลุกล้ำ( noninvasive) โดยการให้ยามาก่อน
โดยแนวทางการรักษาหลักที่ใช้อ้างอิงมาจากของ American Academy of Neurology (2004) ของ International Association for the Study of Pain (2007) และจาก European Federation of Neurological Societies (2010)


Ref: https://postgradmed.org/doi/10.3810/pgm.2011.09.2469

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น