หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554

1,395. Thoracentesis

การเจาะโพรงเยื่อหุ้มปอด (Thoracentesis)เพื่อการตรวจวินิจฉัย
ยกเว้นในผู้ป่วยซึ่งมีภาวะหัวใจล้มเหลวแล้วควรจะทำในผู้ป่วยทุกรายที่ยังไม่ทราบสาเหตุของการมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด โดยผู้ที่สามารถทำได้คือมีระดับน้ำเกิน 1 ซม.ในท่าเอียงเอาด้านข้างลงจากภาพเอ็กซเรย์ทรวงอก หรือการที่สามารถตรวจได้จากการทำอัลตร้าซาวด์-การตรวจโดยเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์
โดยในภาวะหัวใจล้มเหลว การเจาะโพรงเยื่อหุ้มปอด (Thoracentesis) เพื่อการตรวจวินิจฉัยจะมีข้อบ่งชี้ในสภาวะที่ไม่ตรงไปตรงมาตามปกติได้แก่
1. มีไข้ หรือมีเจ็บอกเวลาหายใจเข้า (pleuritic chest pain)
2. มีน้ำในเยื่อหุ้มปอดข้างเดียวหรือมีระดับสองข้างแตกต่างกันมาก
3. การมีน้ำในเยื่อหุ้มปอดนั้นไม่สัมพันธ์กับการมีภาวะหัวใจโต
4. น้ำในเยื่อหุ้มปอดนั้นไม่ตอบสนองต่อภาวะหัวใจล้มเหลว
ควรจะมีการทำโดยเร็วในกรณีที่สงสัยว่าจะเป็นเลือด (เช่น hemothorax) หรือเป็นหนอง (เช่น empyema) เนื่องจากต้องมีการทำการระบายสิ่งเหล่านั้นออกจากทรวงอก (thoracostomy) เพื่อให้การรักษาต่อ ถ้าทำยากเนื่องจากมีปริมาณน้อยหรือมีน้ำอยู่บริเวณส่วนใดส่วนหนึ่งในเยื่อหุ้มปอดโดยไม่กระจายตัว (loculated) การใช้อัลตร้าซาวด์จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการภาวะแทรกซ้อนมีลมในช่องเยื้อหุ้มปอด ถ้าพบว่ามีลักษณะเป็นเลือด (Hct มากกว่า 1%) จะทำให้การวินิจฉัยแยกโรคแคบลงโดยอาจจะเป็น มะเร็ง จากการบาดเจ็บ (รวมทั้งจากการเพิ่งได้รับการผ่าตัดหัวใจ) ภาวะที่เกิดมีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดงปอด (pulmonary embolism) และภาวะปอดอักเสบ โดยถ้าพบว่า Hct ของน้ำจากเยื่อหุ้มปอดเกินกว่าครึ่งหนึ่งของในเลือดบ่งว่าผู้ป่วยมีภาวะเลือดออกในเยื่อหุ้มปอด (hemothorax)
โดยทั่วไปแล้วไม่จำเป็นต้องเอ็กซเรย์หลังการการเจาะโพรงเยื่อหุ้มปอดยกเว้นตรวจพบว่ามีอากาศระหว่างการทำหัตถการ หรือผู้ป่วยมีอาการ เช่น เหนื่อย ไอ เจ็บอก หรือการตรวจแรงสั่นสะเทือนของเสียงที่มากระทบทรวงอก (tactile fremitus) พบว่ามีความผิดปกติในส่วนบนของปอดซึ่งอาจจะมีลมรั่วในปอด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น