ในช่วงแรกอัลกอริทึมสำหรับการช่วยชีวิต จะคล้ายกับแนวทางการกู้ชีพสภายุโรป ปี 2000 (2000 European Resuscitation Council guidelines) ในขณะที่ในระยะที่สองขั้นตอนวิธีจะแตกต่างจากปีแนวทางปี 2005 โดยแนะนำให้ใช้เวลา 3 นาทีระหว่างการวิเคราะห์จังหวะการเต้นหัวใจและการช็อกไฟฟ้า ร่วมกับตรวจสอบชีพจร 1 นาทีหลังจากการวิเคราะห์จังหวะหัวใจและถ้ายังไม่สามารถคลำชีพจรได้จะให้ยา epinephrine 1 mg ทางหลอดเลือดดำ
การปรับปรุงกระบวนการหลายอย่างถูกนำมาใช้ในช่วงระยะเวลาการศึกษารวมถึงการให้การศึกษาแก่คนในชุมชน และเครื่องช็อกไฟฟ้าภายนอกอัตโนมัติ (automated external defibrillators, AEDs) ที่มีใช้เพิ่มมากขึ้น
อัตราแนวทางจนสามารถกลับบ้านได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 18% ในช่วงปี 2001-2005 เป็น 25% ในช่วงปี 2006-2008, ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีจังหวะหัวใจที่สามารถช็อกไฟฟ้าได้ตั้งแต่แรกพบว่ามีอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 37% ถึง 48% และกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นโดยมีพยานเห็นและเป็นจังหวะหัวใจที่สามารถให้การช็อกไฟฟ้า
อัตราแนวทางเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 37%เป็น 52%, อัตราของการช่วยฟื้นคืนชีพโดยผู้ที่ประสบเหตุการณ์เพิ่มขึ้นจาก 60% เป็น 73%
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น