การมีภาวะเป็นกรดอย่างต่อเนื่องในปัสสาวะเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักในการรก่อตัวของนิ่วยูริค เมื่อ pH ของปัสสาวะต่ำลงกรดยูริคในรูปที่มีประจุบวกจะเพิ่มมากและละลายในปัสสาวะที่ความเข้มข้น 100 มก/ลิตร โดยความเข้มข้นที่สูงกว่านี้จะอยู่เหนือจุดอิ่มตัวและเกิดการตกผลึกหรือการเกิดเป็นนิ่ว
สาเหตุสำคัญของการมีปัสสาวะเป็นกรดและการเกิดนิ่วยูริคได้แก่ ภาวะ metabolic syndrome, ภาวะท้องเสียเรื้อรัง, เก๊าส์และชนิดไม่ทราบสาเกตุ
เมื่ออุบัติการของภาวะอ้วนเพิ่มมากขึ้นภาวะ metabolic syndrome ก็เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุสำดัญที่ทำให้เกิดการก่อตัวของนิ่วยูริค ในภาวะภาวะดื้ออินซูลินนำมาสู่การลดการสร้างแอมโมเนียซึ่งต้องการเพื่อที่จะไตเตรทกับกรดในภาวะเลือดเป็นกรดและขับออก
เมื่อเกิดภาวะยูริคในปัสสาวะสูงจะเพิ่มการตกผลึกจากการอิ่มตัว แต่การมี pH ต่ำในปัสสาวะทำให้เกิดการตกผลึกถึงแม้ว่าอัตราการขับออกของกรดยูริคจะปกติ
Myeloproliferative syndromes การให้ยาเคยมีบำบัดในโรคมะเร็ง และ Lesch-Nyhan syndrome ทำให้เกิดการผลิตกรดยูริคขึ้นอย่างมาก และผลลัพธ์ของการมียูริคในปัสสาวะสูงทำให้เกิดนิ่วและเกิดตะกอนของกรดยูริคแม้ในปัสสาวะที่มี pH ปกติ การอุดตันของหลอดไต (renal tubules) โดยผลึกของกรดยูริคสามารถก่อให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน
สองจุดประสงค์หลักในการรักษาคือการเพิ่ม pH ของปัสสาวะ และเพื่อลดการขับกรดยูริคให้น้อยกว่า1 กรัม/วัน การให้ด่างเสริม 1–3 meq/กก /วัน แบ่งให้ 3-4 ครั้งต่อวันโดยหนึ่งในนั้นต้องให้ก่อนนอนด้วย โดยให้ปัสสาวะมี pH อยู่ระหว่าง 6 - 6.5 (จากการเก็บปัสสาวะ 24 ชม.) การให้ pH สูงกว่า 6.5 จะไม่ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นในการป้องกัน และเพิ่มความเสี่ยงของเกิดนิ่วจาก calcium phosphate
รูปแบบของด่างที่ให้ก็มีความสำคัญ potassium citrate จะลดความเสี่ยงการตกผลึกของเกลือแคลเซียมเมื่อ pH ของปัสสาวะเพิ่มขึ้น ขณะที่ sodium alkali salts จะเพิ่มความเสี่ยง อาหารที่มีพิวรีนต่ำจะควรให้ในกรณีมีนิ่วยูริคที่มียูริคสูงในปัสสาวะ
ผู้ป่วยที่ยังเกิดนิ่วยูริคแม้จะได้รับการให้สารน้ำ การให้ด่างและอาหารที่มีพิวรีนต่ำควรให้ allopurinol ร่วมด้วย
Ref: Harrison 's principles of internal medicine, 18e
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น