พบผู้ป่วยที่เป็นหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน และมีภาวะความดันโลหิตสูงบ่อย จะให้การดูแลโดย
1. SBP น้อยกว่าหรือเท่ากับ 220 mmHg. DBP น้อยกว่าหรือเท่ากับ 120mmHg.
ยังไม่ต้องให้ยาลดความดันโลหิต ยกเว้นในกรณี
-ภาวะหัวใจล้มเหลว(Heart failure)
-ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน(acute myocardial ischemia)
-หลอดเลือดเอออติกแตกเซาะ(aortic dissection)
-ไตวายเฉียบพลัน(acute renal failure)
-ภาวะความดันโลหิตสูงจนมีอาการทางสมอง(hypertensive encephalopathy)
2. SBP มากกว่า 220 mmHg หรือ DBP 121 - 140 mmHg หรือทั้งสองอย่าง โดยวัดห่างกันอย่างน้อย 20 นาที 2 ครั้ง ให้การรักษาโดย
- Captopril 6.25 - 12.5 mg ทางปาก ออกฤทธิ์ภายใน 15 - 30 นาที อยู่ได้ 4 - 6 ชม.
หรือ Nicardipine 5 mg/hr IV ในช่วงแรกแล้วปรับขนาดยาจนได้ BP ลดลง 10-15% โดยเพิ่มขนาดยาครั้งละ 2.5 mg/hr ทุก 5 นาที ขนาดยาสูงสุดคือ 15 mg/hr
ไม่ควรใช้ Nifedipine อมไต้ลิ้นหรือทางปาก เนื่องจากไม่สามารถที่จะควบคุมขนาดหรือทำนายผลได้แน่นอน และไม่สามารถปรับลดยาได้ถ้า BP ต่ำ
3. ถ้า DBP มากกว่า 140 mmHg โดยวัด 2 ครั้งติดต่อกันใน 5 นาที โดยจะให้ยา
-Nitroprusside IV
-Nitroglycerine IV
(ขนาดยาดูจากในลิ้งค์อีกครั้ง)
ถ้าไม่มียาให้ยาในข้อสองแทนได้
ถ้าผู้ป่วยเป็น HT เดิม สามารถหยุดยาเดิมทั้งหมดได้ ยกเว้น Beta blocker ที่ใช้รักษา MI และภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน (Acute stroke) มักหมายถึงประมาณ 2 สัปดาห์แรกหลังจากเกิดอาการ
Ref: http://pni.go.th/cpg/ischemic-stroke2007.pdf
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น