มีน้องๆ ถามเรื่องการเลือกยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่เป็นปอดอักเสบติดเชื้อในโรงพยาบาลจึงสืบค้นได้ดังนี้ครับ
การให้ยาปฏิชีวนะแบบ empirical ใน hospital-acquired pneumonia (HAP) และ ventilator-associated pneumonia (VAP)
1. Gram-negative bacilli
- Pseudomonas aeruginosa
- Acinetobacter spp.
- Escherichia coli
- Klebsiella pneumoniae
- Other Enterobacteriaceae
ยาที่ใช้รักษา
-Antipseudomonal cephalosporin
-หรือ Antipseudomonal carbapenem
-หรือ ฺBeta -lactam/-lactamase inhibitor + Antipseudomonal quinolone
-หรือ Aminoglycoside
2. Staphylococcus aureus
ยาที่ใช้
Cloxacillin หรือ glycopeptide
-การจะเลือกใช้ยาปฏิชีวนะชนิดใดขึ้นกับข้อมูลชนิดของแบคทีเรียก่อโรค และความไวจาก
การทดสอบในหลอดทดลองของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง และยังขึ้นกับการมีปัจจัยเสี่ยงของการมีแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ดื้อยาหลายกลุ่มดังที่แสดงไว้ด้านล่าง
-สำหรับ Acinetobacter spp. ควรเลือกใช้ carbapenem ยกเว้นในโรงพยาบาลที่มีสายพันธุ์ที่ดื้อ carbapenem ในอัตราสูง
-ในกรณีที่มีอุบัติการณ์หรือความชุกสูงของสายพันธุ์ที่สร้างเอนไซม์ชนิด extended-spectrum β-lactamases (ESBLs) ควรเลือกใช้ carbapenem
-เลือกใช้ cloxacillin หรือ glycopeptide ตามข้อมูลของแต่ละโรงพยาบาลว่ามีความชุกของ S. aureus สายพันธุ์ที่ดื้อยา methicillinในอัตราสูงหรือต่ำ
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ดื้อยาหลายกลุ่ม (multidrug-resistant strains)
ที่ก่อโรคปอดอักเสบในโรงพยาบาลหรือที่เกี่ยวข้องกับเครื่องช่วยหายใจ
1. มีประวัติได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 90 วันก่อนเกิดปอดอักเสบ
2. ขณะนี้รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลตั้งแต่ 5 วันขึ้นไป
3. มีความชุกสูงของแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ดื้อยาและก่อโรคในโรงพยาบาลแห่งนั้น
4. ได้รับยาเคมีบำบัดหรือการรักษาที่กดภูมิคุ้มกัน
Ref: แนวเวชปฏิบัติในการดูแลรักษาและป้องกันปอดอักเสบในโรงพยาบาลและปอดอักเสบที่
เกี่ยวข้องกับเครื่องช่วยหายใจในผู้ใหญ่ในประเทศไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น