การพิจารณาให้อัลบูมินจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค hemodynamic, สภาวะของฮอร์โมนและสภาวะของภูมิคุ้มกัน
สถานะการณ์ที่เป็นข้อบ่งชี้ได้แก่
1. Spontaneous bacterial peritonitis (SBP)
2. Hepatorenal syndrome (HRS)
3. Post-paracentesis syndrome (PPS)
มีการศึกษาพบว่าในภาวะที่มี SBP การให้อัลบูมินร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะจะช่วยป้องกันภาวะไตทำงานบกพร่องได้ดีกว่าการให้ยาปฏิชีวนะอย่างเดียวรวมทั้งอัตราการรอดชีวิตที่ 3 เดือนก็ดีขึ้นด้วย
การเจาะน้ำในช่องท้องออกโดยไม่ให้อัลบูมินชดเชยจะสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเกิด Post-paracentesis syndrome(PPS) โดย PPS จะสัมพันธ์กับภาวะไตวายและอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นเพื่อป้องกัน PPS ควรจะมีการให้ชดเชยหลังจากการเจาะเอาน้ำออก
มีการศึกษาพบว่าการให้อัลบูมินในระยะยาว(25 กรัม/สัปดาห์ในปีแรก และ 25 กรัม/ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้น) พบว่าเพิ่มอัตราการรอดชีวิตสะสม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น