หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

1,329. จะต้องเจาะเลือดเพื่อดูระดับยาในการรักษาชักหรือไม่ อย่างไร?

Therapeutic monitoring of antiepileptic drugs for epilepsy
The cochrane collaboration
Cochrane reviews
Published in Issue 1, 2007

ผลการวิจัยเชิงสังเคราะห์สรุปได้ว่า
ในผู้ป่วยใหม่ที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยที่รักษาอาการชักด้วยยาเพียงชนิดเดียวพบว่าไม่มีความแตกต่างของการมีระดับยาอยู่ในช่วงการรักษา(therapeutic level) ภาวะปราศจากการชักในช่วงเวลา 12 เดือนไม่แตกต่างกัน ผลข้างเคียงจากยาก็ไม่มีความแตกต่างกัน
จึงสรุปได้ว่ายังไม่มีหลักฐานสนับสนุนเพียงพอว่าการตรวจวัดความเข้มข้นของระดับยาในเลือดเพื่อการปรับขนาดยาจะดีกว่าการปรับยาตามลักษณะทางคลินิกเพียงอย่างเดียวในผู้ป่วยใหม่ที่ได้รับวินิจฉัยโรคลมชักและได้รับการรักษาด้วยยาเพียงชนิดเดียวได้แก่ยา carbamazepine, valproate, phenytoin, phenobarbital หรือ primidone แต่อาจจะเป็นประโยชน์เพื่อการติดตามในกรณีใช้ยาหลายตัว ในสถานการณ์บางหรือในผู้ป่วยบางกรณี ถึงแม้ข้อมูลหลักฐานจะยังไม่สนับสนุนชัดเจน
แต่ในเวชปฎิบัติ ผมใช้ยาหนึ่งชนิดในผู้ป่วยซึ่งได้รับการวินิจฉัยใหม่ หนึ่งเดือนกว่าๆ ต่อมา ผู้ป่วยเกิดชักซ้ำ ผลการตรวจระดับยาพบว่ายังต่ำกว่าระดับยาในช่วงการรักษา ญาติมีความกังวลมากแม้ว่าผู้ป่วยเองจะไม่กังวลนัก และเวลาชักมักจะมีการบาดเจ็บที่ใบหน้าทุกครั้ง จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีการตรวจระดับยาภายหลังปรับเพิ่มขนาดยา(รวมทั้งป้องกันผลข้างเคียงจากยาในกรณีที่ระดับยาเกิน) ซึ่งเกิดความสบายใจทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ จึงอาจถือเป็นกรณีหรือสถานการณ์ที่แตกต่างออกไปที่ควรจะมีการตรวจระดับยาครับ.....


Ref: http://www2.cochrane.org/reviews/en/ab002216.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น