หน้าเว็บ

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

1,309. Generalized anxiety disorder

ในเวชปฎิบัติสามารถพบผู้ป่วยที่สงสัยว่าอาจเป็น โรควิตกกังวลทั่ว (generalized anxiety disorder) ได้เป็นประจำ แต่การตรวจและวินิจฉัยต้องมีแนวทางและเกณฑ์การวินิจฉัย จึงจะทำให้การวินิจฉัยมีความถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลดีต่อการรักษา

ผู้ป่วยโรควิตกกังวลทั่วไปมักจะมีอาการทางกายและอาจจะแยกยากจากอาการที่เกิดจากความเจ็บป่วย ซึ่งความเจ็บป่วยนั้นก็มักจะมีความวิตกกังวลร่วมด้วย
ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนว่าว่าความวิตกกังวลนั้นเป็นอาการของความเจ็บป่วยได้แก่การที่เริ่มมีอาการผิดปกติหลังจากอายุ 35 ปี ไม่มีประวัติส่วนตัวหรือครอบครัวของความวิตกกังวล ไม่มีภาวะของความเครียดที่เพิ่มขึ้น ไม่มีหรืออาจมีเพียงเล็กน้อยของการพยายามที่จะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่กระตุ้นความวิตกกังวล และการไม่ค่อยตอบสนองต่อยารักษาความวิตกกังวล ควรจะสงสัยเสาเหตุทางกายเมื่อความวิตกกังวลเกิดตามหลังการเปลี่ยนการรักษา
หรือมาพร้อมกับอาการและอาการแสดงของโรคที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่

ก่อนที่จะให้การวินิจฉัยควรที่จะซักถามประวัติ การตรวจร่างกายเพื่อตัดสาเหตุทางการแพทย์ที่เป็นเหตุให้เกิดความกังวล การตรวจทางห้องปฎิบัติการควรเลือกตามลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วย ร่วมกับการใช้เกณฑ์การวินิจฉัยซึ่งใช้ของ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders 4 (DSM-IV)

เกณฑ์การวินิจฉัย
A.มีความวิตก และกังวลใจอย่างมาก (หวั่นวิตกว่าจะมีสิ่งไม่ดีเกิดขึ้น) เกิดขึ้นอย่างน้อย 6 เดือน โดยวันที่เป็นมีมากกว่าวันที่ไม่เป็น และเป็นกับหลาย ๆ เหตุการณ์ หรือหลาย ๆ กิจกรรม (เช่น การงาน หรือการเรียน)
B. ผู้ป่วยรู้สึกว่ายากแก่การควบคุมความกังวลใจที่มี
C. ความวิตกและความกังวลใจนี้ สัมพันธ์กับอาการ 6 ข้อต่อไปนี้อย่างน้อย 3 ข้อขึ้นไป (โดยอย่างน้อยมีวันที่มีบางอาการมากกว่าวันที่ไม่มี ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา) หมายเหตุ: ในเด็กมีเพียงแค่อาการเดียวก็เพียงพอ
(1) กระสับกระส่าย หรือรู้สึกเหมือนถูกเร้า หรือเหมือนอาจเกิดเรื่องได้ตลอด
(2) อ่อนเพลียง่าย
(3) ตั้งสมาธิยาก หรือใจลอย
(4) หงุดหงิด
(5) กล้ามเนื้อตึงตัว
(6) มีปัญหาการนอน (นอนหลับยาก หรือหลับๆ ตื่นๆ หรือกระสับกระส่ายหลับไม่ดี)
D. จุดหลักของความวิตกและและความกังวลใจ มิได้จำกัดอยู่เฉพาะแต่ลักษณะของความผิดปกติใน Axis I อื่น ๆ เช่น ความวิตกหรือกังวลใจไม่เกี่ยวข้องกับการเกิด Panic Attack (ดังใน Panic Disorder), การมีพฤติกรรมที่น่าอับอายท่ามกลางผู้คน (ดังใน Social Phobia), การติดเชื้อโรค (ดังใน Obsessive-Compulsive Disorder), การต้องจากบ้านหรือญาติใกล้ชิด (ดังใน Saparation Anxiety Disorder), การมีน้ำหนักเพิ่ม (ดังใน Anorexia Nervosa), การมีอาการทางร่างกายต่างๆ (ดังใน Somatization Disorder), หรือการมีโรคร้ายแรง (ดังใน Hypochondriasis), และความวิตกและและความกังวลใจนี้ มิได้เกิดขึ้นเฉพาะช่วงที่เป็น Posttraumatic Stress Disorder
E. ความวิตกและและความกังวลใจหรืออาการทางกายก่อให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานอย่างมีความสำคัญทางการแพทย์ หรือกิจกรรมด้านสังคม การงาน หรือด้านอื่นๆ ที่สำคัญ บกพร่องลง
F. อาการมิได้เป็นจากผลโดยตรงด้านสรีรวิทยาจากสาร (เช่น สารเสพติด ยา) หรือจากภาวะความเจ็บป่วยทางกาย และไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะช่วงที่เป็น Mood Disorder, Psychotic Disorder, หรือ Pervasive Developmental Disorder


Ref: http://www.ra.mahidol.ac.th/mental/dsm/generalized_anxiety_disorder.htm
http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp022342

1 ความคิดเห็น:

  1. Thank you very much for sharing information that will be much helpful for making coursework my effective.

    ตอบลบ