วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

1,300. Acute management of atrial fibrillation(AF)

เราสามารถพบผู้ป่วยที่เป็น Atrial fibrillation(AF) ได้บ่อยๆ อาจจะสงสัยแนวทางการรักษาในช่วงภาวะฉุกเฉินว่าควรให้การดูแลรักษาอย่างไร ลองมาทบทวนกันดูนะครับ....

เป้าหมายในการควบคุมอัตราการเต้นหัวใจเพื่อให้อัตราการเต้นหัวใจน้อยกว่า 100 ครั้ง/นาที
-ถ้า Hemodynamic stable รักษาโดยการให้ยาเพื่อควบคุมอัตราการเต้นหัวใจ โดยถ้าตามแนวทางนี้อาจจะเริ่มจากการให้ diltaizem หรืออาจจะให้ยาอื่นๆ (ที่ใช้บ่อยได้แก่ beta blockers, calcium channel blockers และ digoxin) ดังในตาราง
-ถ้ากลับมาเป็น sinus rhythm ได้เอง ให้พิจารณาหาสาเหตุต่อ
-ถ้าไม่กลับมาเป็น sinus rhythm ให้พิจารณาดูต่อว่ามีข้อห้ามของการทำ electrical cardioversion ถ้าไม่มีก็ให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดก่อนการทำ โดยดูว่าเกิด AF มาน้อยกว่าหรือมากกว่า 48 ชม. เพื่อป้องกันการมี clot หลุดลอยออกจากหัวใจ หรืออาจใช้การทำ transesophageal echocardiography ถ้าไม่มี clot ก็สามารถทำได้ แต่ถ้ามีข้อห้าม จะให้การรักษาโดยยาต้านการแข็งตัวของเลือดในระยะยาว
-แต่ถ้า hemodynamic unstable ให้การรักษาโดยการทำ electrical cardioversion(synchronized mode) เลย

เพิ่มเติม
-ยาทั้งสามกลุ่มที่กล่าวมาไม่มีประสิทธิภาพพอในการเปลี่ยนจาก AF เป็น sinus rhythm แต่มีจุดประสงค์เพื่อควบคุมอัตราเร็ว ซึ่งยา digixin มีประสิทธิภาพน้อยกว่ายา beta blockers และ calcium channel blockers แต่มักใช้ร่วมกับยาอื่นเนื่องจากการออกฤทธิ์ช้า(ประมาณ 60 นาทีหรือมากกว่า) โดยมีฤทธิ์ยับยั้งที่ atrioventricular node ต่ำ แต่เป็นยาที่เพิ่มช่วยแรงบีบตัวของหัวใจ (positive inotropic agent) ที่ดี จึงมีประโยชน์ในการรักษา systolic heart failure
-ช่วยจำ ยารักษาในภาวะฉุกเฉินของ AF คือ BCD (beta blockers, calcium channel blockers และ digoxin)



กดที่ภาพเพื่อขยายขนาด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น