Clinic-based BP measurement is inaccurate for diagnosing hypertension
แพทย์ส่วนใหญ่จะอาศัยการวัดความดันโลหิตขณะเมื่อมาพบแพทย์หรือวัดจากที่บ้านในการวินิจฉัยความดันโลหิตสูง แต่อย่างไรก็ตามความถูกต้องของการวัดดังกล่าวยังไม่เป็นที่ชัดเจน
ในการศึกษาแบบsystematic review และ meta-analysis จำนวน 20 การศึกษา กว่า 5,700 คนในประเทศอังกฤษ เพื่อดูว่าวิธีการวัดความดันโลหิตขณะเมื่อมาพบแพทย์หรือวัดจากที่บ้านเปรียบเทียบกับการตรวจวัดความดันโลหิตแบบพกติดตามตัวในช่วงเวลากลางวันซึ่งถือเป็นวิธีมาตรฐานอ้างอิง
เมื่อเทียบกับผู้ป่วยความดันโลหิตแบบพกติดตามตัวในช่วงเวลากลางวัน BP ที่ > 135/85 มิลลิเมตรปรอทซึ่งใช้สำหรับการวินิจฉัยความดันโลหิตสูง (มาตรฐานอ้างอิง)
พบว่าการวัดความดันโลหิตเมื่อมาพบแพทย์ที่ > 140/90 มีความไว 75% และความจำเพาะ 75% และการวัดจากที่บ้าน > 135/85 มีความไวของ 86% และ ความจำเพาะ 62%
แต่ความถูกต้องยังขึ้นอยู่กับความชุกของความดันโลหิตสูงด้วยโดย ถ้าความชุก 10% (เช่นในที่อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 40 ปี ) มีเพียงหนึ่งในสี่ของการวินิจฉัยความดันโลหิตสูงที่มีความถูกต้องเมื่อเปรียบเทียบกับการวัดความดันโลหิตขณะเมื่อมาพบแพทย์ แต่ถ้าเป็นความชุก 50% (เช่นในคนที่อายุ 65 ปีขึ้นไป) สามในสี่ของการวินิจฉัยความดันโลหิตสูงจะถูกต้อง
ผลลัพธ์เหล่านี้มีความสำคัญในการนำไปประยุกต์ใช้: หลายคนที่ได้รับการวินิจฉัยความดันโลหิตสูงแต่ไม่ได้เป็นความดันโลหิตสูงจริง โดยเฉพาะถ้าการวินิจฉัยซึ่งขึ้นอยู่กับการวัดความดันโลหิตขณะเมื่อมาพบแพทย์ (เช่นใน white-coat hypertension) ผู้ทำการศึกษาแนะนำให้ใช้การวัดความดันโลหิตเมื่อมาพบแพทย์หรือที่วัดจากบ้านเพื่อการค้นหาเบื้องต้น แล้วใช้ความดันโลหิตที่ได้จากเครื่องวัดแบบพกติดตามตัวเพื่อยืนยันการวินิจฉัยต่อ เพื่อหลีกเลี่ยงการรักษาความดันโลหิตสูงโดยไม่จำเป็น
Ref: http://general-medicine.jwatch.org/cgi/content/full/2011/811/1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น